แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการที่ส่งผลต่อ ผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สมรรถนะบุคลากรที่มีผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธีใช้แนวคิด สมรรถนะและแนวคิดผลการดำเนินงาน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลางจำนวน 14 แห่ง การวิจัยนี้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง จำนวน 400 ราย ด้วยการสุ่มอย่างง่าย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการโดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติตเชิงพรรณนา วิเคราะห์สถิติถดถอยเชิงพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะบุคลากรสายวิชาการ ทั้ง 5 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายความสัมพันธ์และส่งผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง ได้ร้อยละ 51.5 โดยมีปัจจัยด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ด้านการทำงานเป็นทีม และการสั่งสมความเชี่ยวชาญในอาชีพ ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง อย่างมีนัยยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากผลการวิจัยสามารถนำเสนอ แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคกลาง จำนวน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1) กลุ่มแนวทางการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากร 2) แนวทางการยกระดับการการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสายวิชาการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนภารกิจของมหาวิทยาลัย 3) แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Buatum, B. (2015). A study of personnel officers' competency at Thapma Sub-district Municipality. An Independent Study Submitted in Partial Fulfillment of the Requirements for the Degree of Master of Business Administration. School of Management Science. Sukhothai Thammathirat Open University.
chaisuwan, S., Seetalarom, S., & Saengwong, W. (2010). Transformation of Thai Higher Education in Student Crisis Era. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology, 9(1), 686-702.
Choocherd, S. (2004). The Development of Personal Competency in Working more Efficiency. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 12(1), 223-238.
Harnlumpang, S., Yupass, Y., & Kosonkittiumporn, S. (2023). Factors Affecting Teacher Competencies in Schools Huai Mek District Under the Kalasin Primary Educational Service Area Office 2 Kalasin Province. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(4), 309–322.
Humphrey, A.S. (1960). SWOT analysis. Research work on corporate planning conducted at Stanford Research Institute, United States.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Laksanasut, S. (2022). The Development of Supervision Model to Enhance Research Competencies of Basic Education Teachers in Thailand: The Incasing of the Chonburi-Rayong Secondary Educational Service Area Office. International Journal of Sociologies and Anthropologies Science Reviews, 2(2), 61–70.
Office of the Civil Service Commission. (2010). Manual for civil servant development based on core competencies. 1st. Airborne Print Co., Ltd.
Pratoomchan, S.(2014).The Competency of Financial and Accounting Personnel, King Mongkut's University of Technology North Bangkok [Master’s Thesis, Mahasarakham University].
Puilathem, D., & Duangchatom, K. (2023). Guidelines for Developing Teachers’ Performance Enhancement Disability Specific School Northeast under the Office of Special Education Administration. Interdisciplinary Academic and Research Journal, 3(2), 77–92.
Samdaengchai, W., Pienthunyakorn, S., & Pawabutra, C. (2024). The Development of a Collaborative Network for Teachers’ Learning Management Competency in Digital Age of Education Network Center 19 Under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 2. Journal of Social Science and Cultural, 8(11), 67-76.
Sherman, G. (2004). Competency based HRM: A strategic resource for competency mapping. Tata McGraw-Hill.
Thunchanok Khanorm. (2023). The Study of Core Competency and Operational Competence of Supporting Staff Positions, Thaksin University, as Perceived by Head Office of the Faculties. Academic Journal Council of University Administrative Staff of Thailand, 12(1), 62-75.