การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี 3) เพื่อถอดบทเรียนการจัดภูมิสถาปัตย์การท่องเที่ยววิถีพุทธของวัดในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นการผสมผสานระหว่างธรรมชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อสร้างประสบการณ์การท่องเที่ยวที่มีคุณค่าและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นให้ผู้เยี่ยมชมสัมผัสถึงความสงบสุข ศรัทธา และการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในบริบทของพื้นที่ที่เป็นเอกลักษณ์ การวิจัยนี้มุ่งเน้นวัดสำคัญ 4 แห่ง ได้แก่ วัดถ้ำมังกรทอง วัดถ้ำเขาแหลม วัดถ้ำมุณีนาถ และวัดถ้ำเขาปูน ซึ่งแต่ละวัดมีความโดดเด่นในด้านภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับท้องถิ่น การพัฒนาและออกแบบภูมิศาสตร์วัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีพุทธมีองค์ประกอบสำคัญ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านทรัพยากรท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ความสำคัญเกี่ยวกับพุทธศาสนา การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน การบริการนักท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างจิตสำนึกแก่ผู้เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนและสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยววิถีพุทธถูกเรียกว่า "ภูมิทัศน์การท่องเที่ยววัดตามวิถีอริยสัจ 4" โดยแบ่งวัดตามหลักอริยสัจ 4 คือ วัดถ้ำมังกรทอง (ทุกข์) วัดถ้ำเขาแหลม (สมุทัย) วัดถ้ำมุนีนาถ (นิโรธ) และวัดถ้ำเขาปูน (มรรค) ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยให้การพัฒนาภูมิศาสตร์วัฒนธรรมสามารถอนุรักษ์และเผยแพร่คุณค่าทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ พร้อมส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา ช่วยเสริมสร้างศรัทธาและสั่งสมบุญให้กับผู้มาเยือนในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Apakaro, S. (2558). Networks: Nature, Knowledge, and Management. Phisit Thai Offset.
Chuaythanee, B. et al. (2022).Driving the Philosophy of Sufficiency Economy for Livelihood Transformation: From a Market-Dependent Economy to a Self-Sufficient Economy Among Sugarcane and Cassava Farmers in Wichian Buri District, Phetchabun Province [Research Report, Mahachulalongkornrajavidyalaya University].
Hamsupho, S. (2000). Population and Quality of Life Development. OS Printing House.
Jitthangwatan, B. (2005). Sustainable Tourism Development. Press and Design Co., Ltd.
Kaewthep, K. (1995). Community Development Tools. Catholic Council of Thailand for Development.
Kanchanaburi Center. (2022). Wat Tham Mangkon Thong. https://shorturl.asia/aKoBq
Kasetsiri, C. (1997). Cultural Tourism. Thailand Research Fund Office.
Nirattatrakul, Y. (1995). ECOTOURISM: Conservation-Oriented Tourism. Tourism Journal, 14(3), 50-58.
Province, K. (2022). Tourist Attractions, Mueang District. https://shorturl.asia/tFhMa
Simpathavan, D. and Inthongpan, P. (2022). Management Models of Buddhist Tourism According to Wat Pa Udom Somporn, Sakon Nakhon Province. Journal of Buddhist Social Sciences and Anthropology, 7(3), 287-301.