มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัย ข้อพิพาททางปกครอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวความคิด ทฤษฎี แนวคำพิพากษา มาตรการทางกฎหมาย และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบกฎหมายของราชอาณาจักรไทยกับกฎหมายของต่างประเทศ 4) เพื่อจะได้นำมาตรการทางกฎหมายของประเทศที่มีความเหมาะสมมาปรับใช้กับกฎหมายราชอาณาจักรไทย ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ บทความ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประกอบการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จากการศึกษาพบว่า งานวิจัยนี้มีปัญหาที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) ประเทศไทยไม่มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง จึงควรมีการกำหนดให้มีจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองได้ตามแนวทางของกฎหมายปกครองสาธารณรัฐฝรั่งเศส 2) ปัญหาสิทธิในการคัดเลือกผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง ควรกำหนดให้บุคคลภายนอกได้รับสิทธิในการคัดเลือกและแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทได้ดัง เช่น สหราชราชอาณาจักร 3) ปัญหาความขัดกันของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาทตามกฎหมายหลายฉบับ ควรมีการกำหนดอำนาจหน้าที่เป็นกฎหมายแยกต่างหาก 4) ปัญหาวิธีพิจารณาความของคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครอง ควรจัดทำวิธีพิจารณาความสำหรับคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองขึ้นตามหลักของสหรัฐอเมริกา องค์ความรู้จากการวิจัยนี้ คือ หากมีการแก้ไขกฎหมายให้จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท จะทำให้เกิดผลดีต่อการดำเนินการทางปกครองโดยอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาททางปกครองสามารถปฏิบัติหน้าที่ไปได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ข้อพิพาททางปกครองยุติลงได้โดยไม่ล่าช้า และยังเป็นการลดภาระคดีซึ่งทำให้ปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาลปกครองลดน้อยลง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Administrative Court. (2002). Executive Summary: Administrative Cases Regarding the Committee Determining Disputes. Administrative Court Office Welfare.
Chaiwat, W. (1996). Administrative justice process. Journal of Administrative Law,15(2),1-92.
Chanchai, S. (2019). Explanation of the Administrative Court Act and the Administrative Court. Winyucon.
Kanjana, N. (2001). Procedural issues of the Information Disclosure Commission. [Master’s Thesis, Chulalongkorn University].
King Prajadhipok's Institute, (2019). Research report on administrative cases related to the decision of the dispute adjudication committee. www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_60.pdf
King Prajadhipok's Institute. (2003). Administrative cases concerning the decision of the Dispute Resolution Committee. Bangkok Administrative Court Office Welfare.
Nawapon, C. (1979). The Administrative Disputes Tribunal in the United Kingdom. Administrative Court Academic Journal, Special issue, 239-249.
Nunthawat V. (2008). The Basics of French Administrative Law. Winyucon.
Worajat, P. (2006). Administrative Procedure in the German Legal System. Winyuchon Publishing House.