การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

ทัชมาศ ไทยเล็ก
วรรณศิริ นิลเนตร
จุฑารัตน์ คงเพ็ชร
อำไพพร ก่อตระกูล

บทคัดย่อ

สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 จำนวน 55 คน และอาจารย์พยาบาลจำนวน 11 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย หุ่นจำลองสมรรถนะสูง วิดีทัศน์สาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถามได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และค่าสัมประสิทธิ์ของครอน บาค เท่ากับ .90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ประกอบด้วย
1) การศึกษาวิดีทัศน์สาธิตการช่วยฟื้นคืนชีพ 2) การฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพแบบเผชิญหน้า โดยมีผู้เรียนและผู้สอนอยู่ในห้องรวมกันไม่เกิน 5 คน 3) การทำแบบฝึกหัดรายบุคคล และ 4) การสรุปความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพแบบออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาล โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (M = 4.40, SD =.476)
ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลไปใช้ ในการจัดการเรียนการสอน ในกรณีที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนา 2019 รุนแรงหรือมีเหตุพิเศษอื่น ๆ จนไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในคลินิกได้

Article Details

How to Cite
ไทยเล็ก ท., นิลเนตร ว., คงเพ็ชร จ., & ก่อตระกูล อ. (2025). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริดเพื่อเสริมสร้างทักษะ การช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลภายใต้สถานการณ์ การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 9(1), 141–159. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/278784
บท
บทความวิจัย

References

Bandasak, B., Wiang, K, Chantrakaseam, N., Rojana, S., & Thiankhamsri. K. (2017). Affecting Factors on Nursing Students Anxiety while Practicing in Intensive Care Unit. The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 34(1), 6-16.

Birkun, A. A., Altukhova, I. V., Perova, E. A., Frolova, L. P., & Abibullayev, L. R. (2019). Blended Distance-classroom Training as an Alternative to the Traditional Classroom Training in Basic Cardiopulmonary Resuscitation and Automated External Defibrillation. Russian Sklifosovsky Journal" Emergency Medical Care", 8(2), 145-151.

Castillo, J., Gallart, A., Rodríguez, E., Castillo, J., & Gomar, C. (2018). Basic life support and external defibrillation competences after instruction and at 6 months comparing face-to-face and blended training. Randomised trial. Nurse education today, 65, 232-238.

Heard, D. G., Andresen, K. H., Guthmiller, K. M., Lucas, R., Heard, K. J., Blewer, A. L., & Sasson, C. (2019). Hands-only cardiopulmonary resuscitation education: a comparison of on-screen with compression feedback, classroom, and video education. Annals of Emergency Medicine, 73(6), 599-609.

Khamchan, P., Thailek, T., & Thassaneesuwan, S. (2022). Learning Outcome according to Thai Qualifications Framework for Higher Education as Perceived by Nursing Students regarding the Hybrid Learning Approach in an Elementary Nursing Research Subject. Journal of Research in Nursing-Midwifery and Health Sciences, 42(3), 63-73.

Moon, J., & Hyun, H. (2019). Title of the article. BMC Medical Education, 19, 414.

Nakanishi, T., Goto, T., Kobuchi, T., Kimura, T., Hayashi, H., & Tokuda, Y. (2017). The effects of flipped learning for bystander cardiopulmonary resuscitation on undergraduate medical students. International Journal of Medical Education, 8, 430-436.

Park, J. Y., Woo, C. H., & Yoo, J. Y. (2016). Effects of blended cardiopulmonary resuscitation and defibrillation e-learning on nursing students’ self-efficacy, problem solving, and psychomotor skills. Computers Informatics Nursing, 34(6), 272-280.

Prince of Songkla University. (2020). Announcement of Prince of Songkla University on guidelines for teaching and examinations during the new coronavirus 2019 outbreak situation (No. 6) dated March 18, 2020.

Techakanta, P., Duangsuriya, P. & Kruangchai, S. (2023). The Effect of program knowledge and skills for basic life support of Nursing Practice Course of 1styear nursing students. Journal of Health Sciences Scholarship January, 10(2), 180-190.

Tobase, L., Peres, H., Gianotto-Oliveira, R., Smith, N., Polastri, T. F., & Timerman, S. (2017). The effects of an online basic life support course on undergraduate nursing students' learning. International Journal of Medical Education, 8, 309–313.

World Health Organization. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) advice for the public: Mythbusters. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/advice-for-public/myth-busters

Yamsri, K. (2019). Effectiveness of using the Zoom cloud meeting Application tutorial in Midwifery Practicum. Mahasarakham Hospital Journal, 16(2), 36-42.

Young, R. and Sang Suk, K. (2014). The Effect of Computer-Based Resuscitation Simulation on Nursing Students’ Performance, Self-Efficacy, Post-Code Stress, and Satisfaction. Research & Theory for Nursing Practice, 28(2), 127-139.