ปัจจัยและแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในผู้ต้องขังคดียาเสพติด “กรณีศึกษาจากเรือนจำกลางนครปฐมและเรือนจำกลางบางขวาง”

Main Article Content

พรกมล ยังดี
พชรพร ศรีสุวรรณ
ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง
ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี
อรทัย เขียวพุ่ม

บทคัดย่อ

การกระทำผิดซ้ำในปัจจุบันมีอัตราการกระทำผิดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นที่ได้รับความสนใจของสังคมในปัจจุบัน งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำ แนวทางในการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในผู้ต้องขังคดียาเสพติดที่อยู่ในเรือนจำกลางนครปฐมและเรือนจำกลางบางขวาง โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้ประเด็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลงานวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มตัวอย่างคัดเลือกด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง โดยการกำหนดคุณสมบัติ จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากเรือนจำ จำนวน 4 คน (แบ่งเป็นเรือนจำละ 2 คน) พยาบาลวิชาชีพ 1 คน ผู้บริหารเรือนจำ
1 คน และอีก 3 คนมาจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งประกอบด้วย ผู้บริหารกรมสุขภาพจิต 1 คน แพทย์ 1 คน และนักจิตวิทยา 1 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและจำแนกหมวดหมู่ประเด็นเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ครอบครัวเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังคดียาเสพติด อย่างไรก็ตามรายได้ที่ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงดูครอบครัวและการไม่ประกอบอาชีพก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำผิดซ้ำในผู้ต้องขังคดียาเสพติด นอกจากนี้หลักสูตรการฝึกอบรมด้านอาชีพและการเข้าร่วมโครงการฟื้นฟูผู้ต้องขังยังเป็นวิธีการป้องกันและลดกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดได้อีกด้วย ข้อสรุปจากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ในการหาวิธีป้องกันการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังที่ ต้องโทษคดียาเสพติดที่อยู่เรือนจำในประเทศไทย ซึ่งจะสามารถช่วยยกระดับและป้องกันความปลอดภัย สาธารณะให้กับคนในสังคมได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ยังดี พ., ศรีสุวรรณ พ., ชูสกุลเกรียง ศ., ศุภลักษณ์นารี ศ., & เขียวพุ่ม อ. (2025). ปัจจัยและแนวทางการป้องกันการกระทำผิดซ้ำในผู้ต้องขังคดียาเสพติด “กรณีศึกษาจากเรือนจำกลางนครปฐมและเรือนจำกลางบางขวาง”. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 9(1), 75–89. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/277952
บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คุณารักษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับยาเสพติด : กรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

ชวลิต กลิ่นแข และคณะ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องในเรือนจำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 6(3), 253-261.

ฐิติวรรณ สุกใส และคณะ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,2(3), 8–19.

ตฤณห์ โพธิ์รักษา. (2562). เส้นทางชีวิตของนักโทษหญิงที่กระทำผิดซ้ำคดียาเสพติด [วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

นิศากร อุบลสุวรรณ. (2557). การกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์].

ประเสริฐ แก้วจันทร์ และโกศล สอดส่อง. (2565). ปัจจัยการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดหนองคาย. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 7(2),170-182.

พิชัย เลิศเสนา. (2561). ปัจจัยสาเหตุและแนวทางการป้องกันการกระทำผิดวินัยของผู้ต้องขังเรือนจำกลางนครปฐม [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, โรงเรียนนายร้อยตำรวจ].

ไพรวัลย์ สุนทรา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำคดียาเสพติดของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดยโสธร [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม].

ภานุวัฒน์ มีเพียร และบุญเหลือ บุบผามาลา. (2564). ปัจจัยที่ทำให้มีการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของผู้ต้องขังเรือนจำกลางอุดรธานี. Journal of Kaensarn Academi, 7(3), 17-32.

ศิริวรรณ กมลสุขสถิต. (2563). แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดโดยอาศัยปัจจัยที่เป็นตัวทำนายทางด้านอาชญาวิทยา. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 7(1), 1-19.

สุรภัทร พิไชยแพทย์ และคณะ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ต้องขังหญิงกระทำผิดซ้ำในทางอาญาทีเกี่ยวข้องกับยาเสพติด กรณีศึกษาเรือนจำจังหวัดสระบุรี สังกัดกระทรวงยุติธรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. จังหวัดเชียงราย.

อัคคกร ไชยพงษ์. (2557). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Amy Blank Wilson, Jeffrey Draine , Trevor Hadley, Steve Metraux, Arthur Evans. (2011). Examining the impact of mental illness and substance use on recidivism in a county jail. International Journal of Law and Psychiatry, 34(4), 264-268.

Cottle, C. C.., Lee, R., & Heilbrun, K (2005). Risk Factors and Intervention Outcomes: MetaAnalyses of Juvenile Offending. In K. Heilbrun, N. E. S. Goldstein, & R. E. Redding (Eds.), Juvenile delinquency: Prevention, assessment, and intervention. OxfordUniversity Press.

Gordon, J. R. (1998). Organizational Behavior: A Diagnostic Approach (6th ed.). Prentice – Hall.

Mariel Alper and Matthew R. Durose. (2018). 2018 Update on Prisoner Recidivism: A 9-Year Follow-up Period (2005-2014). U.S. Department of Justice. 1-24.