รูปแบบการบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

Main Article Content

จิระวัฒน์ ธนะสุนทรไชย์
เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต
ปัญญา ธีระวิทยเลิศ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 2)เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 3) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 4)เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed method Research) กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 160 คน ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ในภาพรวม สภาพที่เป็นอยู่ในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก สภาพที่ควรจะเป็นในการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับปานกลาง 2)รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบที่ 1 การบริหารงานวิชาการ 6 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการวัดผล ประเมินผลการเรียน ด้านการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งการเรียนรู้ ด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน โดยขับเคลื่อนด้วยองค์ประกอบที่2 กระบวนการบริหาร 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การจัดองค์การ การนำ และการควบคุม 3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวม มีความถูกต้องอยู่ในระดับมากและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 4) หลังการทดลองใช้มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ธนะสุนทรไชย์ จ., สิกขาบัณฑิต เ., & ธีระวิทยเลิศ ป. (2024). รูปแบบการบริหารวิชาการของเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1308–1325. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.79
บท
บทความวิจัย

References

Chataphan,P. (2022). Integrated academic administration model for schools in the project to strengthen the potential of children and youth. For a good quality of life in Bangkok under the royal initiative His Royal Highness Prince Kanitthathirachao Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn Princess Maha Chakri Sirindhorn [Doctoral dissertation, North Bangkok University].

Laonamsai, W. & Piampuetna, N. (2023). Necessary needs and guidelines for academic administration of administrators of educational institutions under the Roi Et Primary Educational Service Area Office, District 1. Journal of Buddhist Philosophy Wiwat,7(1), 534-545.

Ministry of Education. (2013). Manual for administration of educational institutions that are juristic persons. Bangkok: Agricultural Cooperative Community Press of Thailand.

Muksan,P & Charoenkul,N .(2021).Necessary needs in academic administration of secondary schools in Bangkok according to the concept of learning outcomes in green citizenship competency. Journal of Educational Administration and Innovation,4(3), 1-20.

Office of the Basic Education Commission. (2010). Continuous development of educational quality in accordance with the ministerial regulations regarding the criteria system. and methods for assuring the quality of education 2010. Bangkok: Agricultural Cooperatives Association of Thailand Printing Company Limited.

Office of the Secretariat of the Education Council. (2017). National educational standards 2018. Bangkok: Office of the Secretariat of the Education Council.

Panitcharoen, P. & Kulopas, T. (2023). Necessary needs of the development of academic administration of schools under Rangsit Municipality. Pathum Thani Province According to the concept of students' well-being. Journal of Educational Research Faculty of Education Srinakharinwirot University,18(1),41-55.

Sawiwanlop, B. (2017). Academic administration model of basic educational institutions under the Samut Prakan Primary Educational Service Area Office. Bangkok: North Bangkok University Graduate School.

Srisawat, S. (2022). Academic administration model in the 21st century of schools under Bangkok Metropolitan Administration [Doctoral dissertation, North Bangkok University].

Thippho, S. (2019). Visa administration model towards excellence of schools under the Secondary Educational Service Area Office, Area 1 [Doctoral dissertation, North Bangkok University].