การสร้างสรรค์นวัตกรรมสามัญประจำตัวครู เพื่อพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ จากอำนาจละมุน: การนิเทศแบบชี้แนะโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง

Main Article Content

พีรกฤต เครือลุนทีระยุทธ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อให้ครูมีความรู้และความเข้าใจนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้โดยใช้อำนาจละมุนและ 2) เพื่อให้ครูสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับอำนาจละมุน นำไปพัฒนาวิชาชีพครูตามมาตรฐานตำแหน่งและคุณภาพผู้เรียน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบทดลองใช้ทฤษฎีแรงจูงใจ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง แนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและแนวคิดเกี่ยวกับอำนาจละมุลเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ กลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 9 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 16 คน ซึ่งสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง 2) แบบทดสอบ และ 3) แบบประเมินนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การสร้างสรรค์นวัตกรรมสามัญประจำตัวครู จำนวน 4 หน่วย โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.88/83.95 ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง เรื่อง การสร้างสรรค์นวัตกรรมสามัญประจำตัวครู มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้จากอำนาจละมุนมีผลการประเมินนวัตกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ คือ การนิเทศแบบชี้แนะที่หนุนเสริมและพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีความแตกต่างกันด้านสมรรถนะการจัดการเรียนรู้จากการพัฒนาด้วยตนเองและครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานสร้างนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับอำนาจละมุนในพื้นที่การเรียนรู้ได้ด้วยตนเองและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของครูผู้สอน

Article Details

How to Cite
เครือลุนทีระยุทธ พ. (2024). การสร้างสรรค์นวัตกรรมสามัญประจำตัวครู เพื่อพัฒนาครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ จากอำนาจละมุน: การนิเทศแบบชี้แนะโดยใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเอง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1149–1165. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.69
บท
บทความวิจัย

References

Chadramontre, P. (2012). Teacher development in learning management to develop critical thinking skills of students: a case study of Ban Kut Hu School under the Sakon Nakhon Area Office 1 [Master’s Thesis, Sakon Nakhon Rajabhat University].

Chornrawong, C. (2013). Development of teacher training courses on strategies for teaching thinking skills for elementary school students [Doctoral dissertation, Burapha University].

Choinusang, S. (2009). Development of teacher training kits to strengthen organizing abilities Learning activities by applying the theory of multiple intelligences [Master’s Thesis, Mahasarakham University].

Churak, J. (2018). Teacher Quality Development to Develop Critical Thinking of Students in a Multicultural Society 5 Southern Border Provinces.Songkhla [Research Report, Songkhla Rajabhat University].

Fonseca, C. (1999). The computer in Costa Rica: A New Door to Educational and Social. Opportunities in Logo Philosophy and Implementation, LCSI, pp.2 – 21.

Laoreandee, W. (2013). Teaching Supervision and Coaching. Bangkok: Kasetsart University Publishing.

Maslow, Abraham H.(1970). Motivation and Personality. New York: Harpers and Row.

Nye, Jr., Joseph S. (1990). Soft Power. Foreign Policy, 80, 153-171.

Office of the Secretary-General of the Council of Education. (2021, June 25). Notification of the Ministry of Education on the education management policy of the Ministry of Education for the fiscal year 2021–2022. https://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

Pechsung, P. (2020). Development of program for enhancing learning behavior using achievement motivation theory and goal setting theory for undergraduate students. Journal of Education Naresuan University, 23(2),424-439.

Shummadtayar, U. (2022). Transformation Process of Local Study by the Youths for Engaging in Urban Development. Asian Creative Architecture, Art and Design, 35(2), 90-108.

Sudhimolibodhi, M. (2020). Characteristics of individuals with Achievement Motivation. Buddhist Psychology Journal, 5(2), 12-17.

Thipsuwan, N. (2022). Teacher Development in Innovative Learning Management of Maharat Ban Saeng Arun School under the Office of Surat Thani Elementary School District 2 [Master’s Independent Study, Surat Thani Rajabhat University].

Tuayngam, K. (2015). The management model using educational institutions as the base of small educational institutions in Buriram Province [Research Report, Buriram Rajabhat University].

Wang, Q., Lee, K. C. S., & Hoque, K. E. (2022). The mediating role of classroom climate and student self-efficacy in the relationship between teacher leadership style and student academic motivation: evidence from China. The Asia-Pacific Education Researcher, 32, 561-571.