การศึกษาเส้นทางที่เหมาะสมในการจัดเก็บขยะ กรณีศึกษาของ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อมีปริมาณขยะมูลฝอยจากชุมชนต่าง ๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบประมาณเฉลี่ย 5 ตันต่อวัน และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น
เรื่อย ๆ ตามการขยายตัวของประชากรและในการเก็บขยะไม่มีแผนเส้นทางการจัดเก็บขยะที่เป็นรูปแบบ ทำให้การจัดเก็บขยะใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ทำให้สูญเสียทั้งด้านงบประมาณและด้านพลังงานเชื้อเพลิง งานวิจัยนี้ จึงได้ศึกษาระบบการจัดเก็บและขนส่งขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อโดยวิธีระบบโปรแกรมเชิงเส้นและการใช้โปรแกรม lingo มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดสันเส้นทางการขนส่งขยะมูลฝอยให้เหมาะสมและวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อในปัจจุบันเพื่อนำมาปรับปรุงและจัดสร้างเส้นทางขนส่งขยะมูลฝอยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยใช้ค่าใช้จ่ายและประสิทธิภาพของรถขนขยะที่มีอยู่เดิมเป็นเกณฑ์
การวิเคราะห์จะพิจารณาจากข้อมูลปริมาณของขยะมูลฝอย จุดรวบรวมเก็บขน ระยะทาง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและค่าบำรุงรักษา โดยวิธีระบบโปรแกรมเชิงเส้นและการใช้โปรแกรม lingo ทำให้สามารถลดค่าต้นทุนลงได้ ซึ่งจากเดิมมีค่าต้นทุนเฉลี่ยเป็นเงิน 1,036.64 บาทต่อวัน ลดลงเหลือ เงิน 853.95 บาทต่อวัน จะช่วยประหยัดต้นทุนได้วันละ 182.72 บาท คิดเป็นต้นทุนที่สามารถลดลง 17.62 % /วัน ถ้าคิดทั้งปีงบประมาณจะช่วยลดต้นทุนของหน่วยงานได้ถึง 66,692 บาท จากข้อมูลข้างต้นจึงสามารถสรุปได้ว่า การศึกษาการพัฒนาระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอยโดยวิธีระบบโปรแกรมเชิงเส้นและการใช้โปรแกรม lingo ในการแก้ปัญหาการจัดเส้นทางสำหรับยานพาหนะนั้นสามารถช่วยลดระยะทางการขนส่งและค่าใช้จ่ายลงได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Frederick, S.H. (2010), Introduction to operations research. 9th edition. New York: McGraw-Hill.
Sae-lee, P. and Ritvirool, A. (2014). A Mixed-Integer linear programming model for workforce planning in the Pickled-Ginger production. Naresuan University Engineering Journal, 9(3), 48-54.
Sae-lee, P. and Ritvirool, A. (2014). An integer linear programming model for herbal cosmetic production planning. KMUTT Research and Development Journal, 37(4), 347-360.
Phosamrit, N. and Thammaponphirat, W. (2010). A mathematical model for inventory-routing problem. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok, 20(3), 544-551.
Sirioran, P. (2014). Transportation cost reduction by optimal vehicle routing management a case study: the soft drink business. Panyapiwat Journal, 5, 272-279.
Rapeepan Pitakaso, (2016). Evolutionary method using difference for solving logistics transportation problems. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University Press.
Ragsdale, C. T. (2015). Spreadsheet Modeling and Decision Analysis: A Practical Introduction to Business Analytics. 7th edition. Connecticut: Cengage Learning.
Lindo Systems lnc. (2011). Lindo program student version. Retrieved February 9, 2022, from www.lindo.com
Napaporn Thanakamonpradit and Prathana Prathanadee, (2012) “Mixed Integer Linear Programming Model for Yard Location Selection,” 50th Kasetsart University Academic Conference, 31 Jan. -2 Feb. 2012, pp 138-145.
Lindo System lnc, (2014) Lingo 14 Optimization Modeling Software for Linear, Nonlinear and Integer Programming. Retrieved 29 May 29, 2022, from www.lindo.com