กลยุทธ์การบริหารแรงงานกลุ่มผู้สูงอายุของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์
อาจารีย์ ประจวบเหมาะ
ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์
ธารทิพย์ พจน์สุภาพ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์การบริหารแรงงาน การบริหารจัดการพื้นที่ทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและการจัดการความรู้กับกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ ส่งผ่านการบริหารความรู้กับแรงงานผู้สูงอายุจากการจัดการความแตกต่างในแต่ละด้านไปสู่ความคาดหวังผลประกอบการขององค์กร และศึกษาตัวแบบที่เหมาะสมของการวางแผนเพื่อรองรับการบริหารจัดการแรงงานผู้สูงอายุของภาคธุรกิจไทยเป็นการวิจัยแบบผสมใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ประกอบการที่มีจำนวนพนักงาน 15 คนขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร กำหนดกลุ่มตัวอย่าง 400 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างแบบง่าย ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และตัวแบบสมการโครงสร้าง


ผลการศึกษา พบว่าการบริหารแรงงานผู้สูงอายุมีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการบริหารความรู้กับกลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ มีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ -0.382 ค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.746 และค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.364 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และการบริหารจัดการพื้นที่ทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ  มีอิทธิพลเชิงบวกทางตรงต่อการบริหารความรู้กับกลุ่มแรงงานต่างวัย โดยมีค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.948 และค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 1.136 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 การวางแผนด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการแรงงาน การบริหารจัดการพื้นที่ทำงานเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและการบริหารความรู้กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ มีอิทธิพลต่อการรับรู้ผลประกอบการขององค์กร พบว่าการบริหารแรงงานผู้สูงอายุ มีอิทธิพลเชิงบวกทางอ้อมต่อการรับรู้ผลประกอบการขององค์กร โดยมีการบริหารความรู้กลุ่มแรงงานผู้สูงอายุ เป็นตัวแปรคั่นกลางแบบส่งผ่าน โดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.304 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

Article Details

How to Cite
กระแสร์สินธุ์ ร., ประจวบเหมาะ อ., กระแสร์สินธุ์ ใ., & พจน์สุภาพ ธ. (2024). กลยุทธ์การบริหารแรงงานกลุ่มผู้สูงอายุของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานคร . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(1), 133–149. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.9
บท
บทความวิจัย

References

Amonvatana, C. et al. (2008) The research on direction and measure to enhance employment of the elderly [Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB)].

Bricki, N. and Green, J. (2007). A Guide to Using Qualitative Research Methodology. Retrieved October 31, 2022, from https://fieldresearch.msf.org/handle/10144/84230

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Duggan, M. (2015). Mobile Messaging and Social Media-2015. Washington, DC: Pew Research Center. The Journal of Dermatology, 23(4), 127–184.

Muszynska, M.M., and Rau, R. (2012). The Old-Age Healthy Dependency Ratio in Europe. Journal of Population Ageing, 5(3), 151-162.

Richard, L. (2000). Corporate Strategy. 3rd Ed. Essex, England: Pearson Education.

Westland, J. C. (2010). Lower bounds on sample size in structural equation modeling. Electronic Commerce Research and Applications, 9(6), 476–487.

Word Health Organization. (2002). Active Ageing; A Policy Framework, Geneva: World Health 10, February 2020. Retrieved October 31, 2022, from https://www.who.int/ageing/publications/active_ageing/en/