แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิด เมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

อัมพร ช่วยสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำคัญการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้าน         การขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์     ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ: กรณีศึกษาจังหวัดภูเก็ต เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตในการศึกษานี้ รูปแบบการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) โดยการวิจัยการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัย         เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนผู้ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ต และผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) ทั้ง 3 ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 คน โดยนำข้อมูลจาก               กลุ่มตัวอย่างขนาด 400 ตัวอย่าง ใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบถาม 2 ขั้นตอน คือ การทดสอบความเที่ยงตรง พบว่า คำถามทุกข้อ ได้ค่า IOC > 0.5 และค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และการตรวจสอบ           ค่าความเชื่อมั่นจากกลุ่มตัวอย่างเสมือนจริงที่ใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 ตัวอย่าง                     ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาสูงกว่า .70 ในทุกด้าน
          สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมมติฐานโดยใช้โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกันใช้ค่า t- test Independent การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธี Least -Significant Different (LSD)           และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
          1. ระดับความสำคัญคุณภาพแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความพร้อม (Availability) รองลงมา ด้านความปลอดภัย (Security) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านการเข้าถึง (Accessibility
          2. แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนกับปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน     อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมืองอัจฉริยะ            เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากจัดลำดับความสำคัญแนวทางการแนวทางการพัฒนาระบบ        โลจิสติกส์ด้านการขนส่งมวลชนภายใต้แนวคิดเมือง ผู้ให้ข้อมูลหลักให้ความสำคัญ ด้านความพร้อม (Availability) ด้านความปลอดภัย (Security) และด้านข้อมูลข่าวสาร (Information)     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anderson, B. Condry, N. Findlay, R. Brage-Ardao, H. Li. (2013). Measuring and Valuing

Chihuangji Wang. (2023). Making Transportation Systems in U.S. Cities Smarter and More Inclusive: A Synthesis of Challenges and Evaluation of Strategies. https://www.mdpi.com/2220- 9964/12/2/72

Convenience and Service Quality: A review of global practices and challenges from the public transport sector.

David Parmenter. (2007). Key Performance Indicators – developing, implementing and using winning KPIs. 4th ed. Wiley.

Elpida Xenou & Michael Madas & Georgia Ayfandopoulou, (2022). Developing a Smart City Logistics Assessment Framework (SCLAF): A Conceptual Tool for Identifying the Level of Smartness of a City Logistics System, Sustainability MDPI, 14(10), 1-18.

Praornpit Katchwattana (2023), Potential vs. Challenges of “Thai Robot Industry” and an important step towards becoming One regional level, Salika, Knowledge Sharing Space, 4 Jan

Pornprom Siangson. (2020). Philosophical foundations of public policy for smart city policy, Southern Technology Journal, 13(2), 150 – 161

Sabina Kaufa. (2018). Smart logistics as a basis for the development of the smart city. ScienceDirect, 39(2019), 143 – 149.

United Nations. (2015). Management Theory and Total Quality : Improving Research and Practice Through Theory Development. New York : Academy of Management Review