การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียง ในจังหวัดนครปฐมผ่านอัตลักษณ์ทางภาษาและวัฒนธรรมประเพณี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการใช้ภาษา ทัศนคติต่อภาษา วัฒนธรรม ประเพณีการจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุและผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงในจังหวัดนครปฐม และ 2) เพื่อหาแนวทางและสร้างรูปแบบโมเดลการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ผ่านอัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงในจังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แนวคิดทางภาษาศาสตร์ แนวคิดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ แนวคิดการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และแนวคิดทางการตลาด เป็นกรอบการวิจัย และนำเสนอด้วยสถิติเชิงพรรณนา พื้นที่วิจัย คือชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียง จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างคือ สมาชิกในชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียง จำนวน 60 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงส่วนใหญ่ยังสามารถพูดภาษาลาวครั่งและลาวเวียงของตนได้ดี โดยเลือกพูดเฉพาะกับสมาชิกในครอบครัว แต่สำหรับทัศนคติต่อภาษานั้น กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งลาวครั่งและลาวเวียงส่วนมากต้องการให้ลูกหลานพูดภาษาชาติพันธุ์ได้ รวมถึงอยากอนุรักษ์ให้ลูกหลานได้เรียนรู้และยังคงมีการใช้อยู่สืบไป
2. ผลการวิจัยแนวทางและสร้างรูปแบบโมเดลการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ผ่านอัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งและลาวเวียงในจังหวัดนครปฐมนั้น มีเหตุปัจจัยของความสำเร็จ คือ สมาชิกในชุมชนต้องร่วมมือร่วมใจ คิด ทำ และได้รับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสมเหตุสมผล
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาการเรียนการสอนในการผสมผสานความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรม กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ นอกจากนี้จากโมเดลการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์ผ่านอัตลักษณ์ภาษาและวัฒนธรรมประเพณี ยังสามารถนำไปปฏิบัติตามที่สามารถสร้างให้เกิดการจัดการท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์รวมถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ นำมาซึ่งการสร้างรายได้อย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Boonyasarit, A. (2015). Creative tourism in Southeast Asia. Department of History, Faculty of Social Sciences, Naresuan University.
Burusphat, S., Deepadung, S., Suraratdecha, S., Ardsamiti, N., Patpong, P., & Setapong, P (2011). Language uses and attitudes towards languages and ethnic tourism of ethnic groups in the Western Region of Thailand. Sangsue.
Education Commission. (2002). The Self learning and community research system. S.R. Printing.
Kasetsiri, C. (1997). Cultural Tourism. Bangkok:The Thailand Research Fund (TRF). Thammasart University.
King Prajadhipok’s Institute. (2004). Encyclopedia of Local Govenment, Civil Society and Local Government Politics and Local Participation. Tammada Press Company Limited.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). Report on the economic and social development of the country. https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=11864
McIntosh, R.W. & Goeldner, C.R. (1990). Tourism: Principles, Practices, Philosophies. University of Wisconsin.
Sang-Chei, T. (2007). Tourism and hospitality. Silapakorn University Petchaburi Campus.
Sawangphol, K. (2016). Sustainable Tourism Development at The Sai-Noi Floating Market through Community Participation [Master’s Thesis, Dhurakij Pundit University].
Sereerat, S. et al. (2003). Principles of Marketing. Bangkok: Theera Film & Scitex Co., Ltd.
Soontorncharaenngen, W. (2014). The Creative challenge of product and Hospitality. Thai brand. Amex Team.
The Secretariat of the Cabinet. (2021). 12 urgent policies. https://www.soc.go.th/wp-content/ uploads/2021/04/18-นโยบายเร่งด่วน12เรื่อง.pdf