การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

มนตรี สุขชุม
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการดังนี้ (1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในการผลิตและพัฒนากำลังคน ระดับฝีมือ ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และ (3) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 384 คน ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานประกอบการ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ครูฝึกในสถานประกอบการ นักเรียนระบบทวิภาคีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และนักศึกษาระบบทวิภาคีระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย


ผลการวิจัย (1) องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า มี 5 องค์ประกอบหลัก 19 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ (2) การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบ  ทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตร ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านความร่วมมือกับสถานประกอบการ และ (3) การประเมินการรูปแบบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบ  ทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ทุกองค์ประกอบมีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์

Article Details

How to Cite
สุขชุม ม. ., & พัฒนกุลชัย ว. (2024). การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ประเภทช่างอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(2), 921–940. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.56
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และรีนา ต๊ะดี. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดวงนภา มกรานุรักษ์. (2554). อนาคตภาพการอาชีวศึกษาไทยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2554-2564) (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).

ธีรศักดิ์ ศรีสุรกุล, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา และ วิรุฬห์ นิลโมจน์. (2557). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของ กศน.ตำบล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิจัยปฏิบัติการ. วารสารครุศาสตร์, 42(2), 17-31.

ประภาส เกตุไทย (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีในวิทยาลัยเทคนิคกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาแพงเพชร).

พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา, 125 (ตอนที่ 43 ก), 1-24.

พุทธชาด ศุภลักษณ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างประเทศด้านอาชีวศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก http://civec.vec.go.th/default.aspx

ไพฑูรย์ สังข์สวัสดิ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่เหมาะสมกับประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม(วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

มะณู คุ้มกล่ำ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิทยาลัยสารพัดช่าง เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่สถาบันการอาชีวศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร).

มาโนช ชีพสุวรรณ. (2556). รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสหวิทยาเขต ในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา (เดิม) จังหวัดนครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์).

วิทยา รุ่งเจริญวัฒนา (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของหัวหน้างานในสายการผลิตงานเทหล่ออลูมิเนียมในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 29(103), 84-91.

วิภาดา ศรีจอมขวัญ. (2556). รูปแบบการบริหารการพัฒนาสมรรถนะครูอาชีวศึกษาไทย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2557). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช2556 เล่มที่ 1 ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการศึกษาระบบทวิภาคีหรือระบบฝึกหัด-กรณีศึกษา ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน สหรัฐอเมริกา อังกฤษและออสเตรเลีย. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ.2555-2559. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2562, จาก http://vwvw.ldd.co.th/th-TH/-ฉบับที่ 1 พ.ศ 2555-2559

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

Cinovec, B. A. (1997). A study comparing organizational culture characteristics and management practices in supported employment and sheltered work programs. Ohio: University of Kent State.

Dietz, W. H. (2001). Preventing obesity in children and adolescents. Annu rev Public Health, 22, 337-353.

Fossum, P. R. (1996). Implementing school to work reform policy: Three case studies in youth apprenticeship. Minnesota: University of Minnesota.

French, D., & Saward, H. (1975). Dictionary of management. London: Pan Book.

Guilick, L., & Urwick, L. (1973). Paper on sciences of administration.New York: Institution of Public Administration.

Highett, N. T. (1989). School effectiveness and ineffective parent’s principal’s and superintendents’ perspectives [Doctoral Dissertation, University of Alberta].

Ramsaroop, E. V. (2001). Vocational and Technical Education Changes that are Potential Contributors to the Economic Development of Trinidad and Tobago. http://hdl.handle.net/10919/27355

Schroeder, M. W. (1999). The impact of IDEA 1997 on teachers, beliefs and collaborative practices as participants on IEP teams at one middle school. Iowa: University of Northern Iowa.

Schultz, C. F. (1996). An ethnography of German apprenticeship: Situated learning technics and community in a high-technology firm. New Mexico: University of New Mexico.