การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ เพื่อส่งเสริมทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี จำนวน 18 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบการสุ่มแบบง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนววิทยภาษาบูรณาการ 2) แบบทดสอบทักษะการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่น 3) แบบทดสอบความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่น 4) แบบสังเกตการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 และสถิติ t-test dependent สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.46/81.17 2) ผู้เรียนมีทักษะการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 3) ผู้เรียนมีความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 4) ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยพัฒนาทั้งทักษะการพูดสื่อสารและความเข้าใจวัฒนธรรมญี่ปุ่นควบคู่กันไปเมื่อได้ฝึกฝนทักษะการพูดสื่อสารอย่างเป็นไปตามวัฒนธรรมญี่ปุ่น โดยผู้เรียนพัฒนาการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดีผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นและผู้สอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ เลาหบูรณะกิจ คะตะกิริ. (2565). ภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ. (2547). ปัญหาการเรียนภาษาญี่ปุ่นของนักศึกษาไทย. ญี่ปุ่นศึกษา, 21(2), 53-70.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พร้อมพรรณ พรหมพิทยายุทธ. (2550). ปัญหาในการสื่อสารระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นในบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริรัตน์ กลยะณี และพระมหาขวัญชัย กิตติปาโล. (2558). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการพูด. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 1(1), 17-30.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นและภาษาเยอรมันตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
อรุณ เมียดสีนา. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะทางภาษาอังกฤษ ตามแนวการเรียนรู้แบบบูรณาการภาษาและเนื้อหา สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาทิตย์ ศรีจันทร์ดร. (2560). ผลของการสอนตามแนวทฤษฎีบูรณาการเนื้อหาและภาษา (CLIL) ที่มีต่อความสามารถในการฟัง-พูด และความสนใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Association of International Educational Exchange. (n.d.). Speaking Assessment Criteria. Retrieved September 23, 2022, from https://jlcat.org/evaluation_speaking.html
Bradford, A., & Brown, H. (2016). EMI, CLIL, & CBI: Differing Approaches and Goals. JALT2016: Transformation in Language Education. Japan: Japan Association for Language Teaching.
Cimermanova, I. (2017). CLIL - a Dialogue between the Language and Subject Teachers. Retrieved February 28, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/322992382_CLIL-a_Dialogue_between_the_Language_and_Subject_Teachers/citations
Coyle, D., Hood, P., & Marsh, D. (2010). CLIL: Content and Language Integrated Learning. UK: Cambridge University Press.
Darn, S. (2006). Content and Language Integrated Learning (CLIL): A European Overview. Retrieved February 27, 2022, from https://www.researchgate.net/publication/234652746_Content_and_ Language_Integrated_Learning_CLIL_A_European_Overview
Fukagawa, M. (2019). A Study of Students’ Learning in CLIL-based Japanese Language Classroom: Focusing on Culture. In M. Takahashi (Ed.), Proceeding of Japanese Language Teachers in Spain Symposium (pp. 101-106). Spain: University of Alicante.
Kamada, O. (2001). Measurement of Speaking Skill. Research of Japanese Language and Japanese Language Education, 17, 6-7.
Okuno, Y. (2020). CLIL for Japanese Language Teachers. Japan: Heibonsha.
Sato, M., & Miyamoto, R. (2014). Utilization of CLIL in an Intermediate JSL Class. Bulletin of the Center for Educational Research and Practice, Faculty of Education and Human Studies, Akita University, 36, 139-150.
Suwannoppharat, K. (2014). The Development of a Content and Language Integrated Learning Course to Enhance Cultural Awareness and English Communication Ability of Thai Undergraduates in the International Program [Doctoral dissertation, Chulalongkorn University].
The Japan Foundation. (2017). The JF Standard for Japanese-Language Education. Retrieved September 23, 2022, from https://www.jfstandard.jpf.go.jp/pdf/web_whole.pdf
The Japan Foundation. (2021). Survey Report on Japanese-Language Education Abroad 2021. Retrieved September 15, 2022, from https://www.jpf.go.jp/j/project/japanese/survey/result/dl/survey2021/all.pdf