สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

Main Article Content

พงษ์ศธร ชมท่าไม้
มิตภาณี พุ่มกล่อม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ
2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 306 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2. การเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการคิดค้นเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม ด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคลและด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยด้านการคิดค้นเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม สถานศึกษาขนาดใหญ่มีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดเล็ก ด้านความเป็นเลิศส่วนบุคคล สถานศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่และด้านการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สถานศึกษาขนาดกลางมีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดใหญ่


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารสถานศึกษาและหน่วยงานการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
ชมท่าไม้ พ., & พุ่มกล่อม ม. (2024). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(4), 2223–2235. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269065
บท
บทความวิจัย

References

Chaiwangyen, P. (2022). Core competencies of small school administrators under The Office of Chiang Rai Primary Educational Service Area Office 2 [Master's Thesis]. Thailis. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and The Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297 – 334.

Education Council Secretariat. (2017). National education plan 2017-2036. Phrikwan Graphic.

Independent Commission for Education Reform. (2020). Thematic Report 8 Reforming Teachers and Lecturers. Thaiedreform. https://www.thaiedreform.org/wp-content/uploads/2020/01/Commis sionReport10.pdf

Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1. (2022). Fiscal Year 2023 Action Plan. (1st). http://kan1.go.th/main

Kittitaro, S., Kittisophano, K. & Sukleung, K. (2018). A model of administative development for buddhist propagation council in Phetchaburi province. Journal of MCU Social Science Review, 8(3), 86-95.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Kusonkhom, A. & Phusing, S. (2018). The School Administrators’ Competencies in School based on the Professional Standards of the Teacher Council in the schools under the Secondary Educational Service Are Office 30. Journal of educational administration and leadership, 7(30), 188-197.

Ministry of Education. (2015). Guidelines for learning management in the 21st century. cooperative rally.

Namsai, N., Wansaen, T., Mikusol, P. & Sroinakpong, S. (2020). Competencies of school Administrators in the 21st Century Under Yasothon Primary Educational Service Area Office 1. Journal of educational administration and leadership, 8(30), 239-246.

Office of the Basic Education Commission. (2019). Measures to engage stakeholders. Obec.go.th. https://www.obec.go.th/wp-content/uploads/2019/06/มาตรการให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วม.pdf

Pichanaharee, P. (2020). Factors Affecting The Learning Organization of The Court of Justice Office [Master's Thesis]. www.aru.ac.th. http://etheses.aru.ac.th/PDF/1256361990_11.PDF

Prajan, O. (2017). Administrative model for developing teacher’s innovation thinking skills in the basic education school. Thailis. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php

Promna, B. (2016). The Academic Leadership of School Administrators under Surat Thani Primary Educational Service Area Office 1. Journal of Nakhonratchasima college, 10(2), 401-410

Ratchawong, P., & Thongprong, A. (2022). The Competency of School Administrators in New NormalEraAccording to the Perception of Teachers Under the Office ofSaraburi Primary Educational Service Area 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 47-48

Thuwakham, P. (2022). Competency of school administrators the basic educational institutions of the school under the foundation of the church in Thailand. [Master's Thesis]. Thailis. https://tdc.thailis.or.th/tdc/search_result.php