รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์และสภาพปัจจุบันสำหรับการสร้างรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 2)สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐ ในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 3)ประเมินรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี เริ่มต้นด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาต่อมาดำเนินการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างและดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสนทนากลุ่มเพื่อยืนยันรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าผลการสังเคราะห์เอกสาร แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยการศึกษาหลักการ แนวคิด สามารถสังเคราะห์รูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ได้ 9 ด้าน 61 ข้อ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ พบว่าครูผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 18.4 และเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 81.6 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีการสกัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลักใช้วิธีหมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่ามี 8 ด้าน 42 ข้อ ขั้นตอนนี้ผู้วิจัยตั้งชื่อองค์ประกอบของแต่ละด้านใหม่และทำการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงสอดคลอง พบว่า ตัวแปรแฝงทุกตัวมีความเชื่อมั่นเพียงพอสามารถนำมากำหนดรูปแบบการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีของรัฐในภาคใต้ ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาต่อไป ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 โดยจัดสนทนากลุ่ม ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ มี 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านนโยบาย 2) ด้านหลักสูตร 3) ด้านการบริหารงบประมาณที่มุ่งเป้าหมายภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ 4) ด้านการบริหารงบประมาณที่มุ่งเป้าหมายภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ 5) ด้านการจัดการเรียนการสอน 6) ด้านการบริหารจัดการชั้นเรียน 7) ด้านการวัดและประเมินผล 8) ด้านความเป็นเลิศ
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา และสถานประกอบการในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี ภายใต้อุบัติการณ์ใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Boonchom Srisaard. (2013). Preliminary research. (9th edition). Bangkok: Suweeriyasan
Kanlaya Wanichbuncha. (2006). Statistics for research. (2nd edition). Chulalongkorn
Printing Office.university.
Natthawit Mungmuang. (2017) The development of cooperation in the management
of vocational education in the bilateral system of vocational college in the
upper northern region. graduate school Chiang Mai Rajabhat University.
Nuanong Thamcharoen. (2015). The development of a model for vocational
education management in a bilateral system.School in an integrated factory. Doctoral Education
Thesis Graduate Studies King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Nonglak Wiratchai, Chayut Piromsombut and Sajeemaj Na Wichian.(2008). research
and development of indicators Moral ethics. Bangkok: Graphic Pepper.
Paitoon Sangsawat (2018). The development of a bilateral vocational education
management model suitable for Type of industrial engineering using action research. Technical
Development Journal Study King Mongkut North Bangkok. 30(105), 45–53.
Petchnoi Singchangchai (2005) Analysis of Multivariate in Nursing by Statistical
Analysis.Principle components and use of multivariate analysis statistics. for
official research Hatyai nurses. Songkhla: Outskirts of printing. 2nd edition.
Phromsawat Thipkongka. (2008). Models of vocational education change management in Thailand. Thesis,
Ph.D., Bangkok: King Mongkut's University of Technology North Bangkok.
Thanin Srichomphu. (2013). The development of a bilateral vocational education
administration model in educational institutions.Under the Office of the
Vocational Education Commission. Thesis, Ph.D., Naresuan University,Phitsanulok.
Udomsak Meesuk. (2018). The development of a bilateral vocational education
management model. Industrial technician in educational institutes affiliated
with vocational institutes in the central region. Journal of Dusit Thani College,
Year 11, Issue 3 September - December 2017.