ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา และการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนตามระบอบประชาธิปไตย ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มอำเภอปากเกร็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มอำเภอปากเกร็ด 2) ระดับการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนตามระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มอำเภอปากเกร็ด และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษากับระดับการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนตามระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มอำเภอปากเกร็ด รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือครูผู้สอน จำนวน 234 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .966 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่าภาวะผู้นำที่แท้จริงด้านที่มีระดับการปฏิบัติสูงที่สุด คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม รองลงมา คือ ด้านการควบคุมตนเองด้านการตระหนักรู้ในตนเอง ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความโปร่งใส และด้านที่มีระดับการปฏิบัติต่ำที่สุด คือ ด้านความยุติธรรม
2. การส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนตามระบอบประชาธิปไตยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ด้านที่มีการส่งเสริมสูงสุด คือ ด้านสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองให้ปลอดภัยจากการถูกละเมิด คือการที่ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริมให้นักเรียนมีความปลอดภัยทั้งทางร่างกาย และจิตใจ นักเรียนได้รับการคุ้มครองจากการถูกละเมิด ทางร่างกาย ทางวาจา ทางจิตใจ และด้านที่มีระดับการส่งเสริมต่ำที่สุด คือ ด้านสิทธิและเสรีภาพในการพูดแสดงความคิดเห็น คือ ผู้บริหารสถานศึกษาเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเสรี เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จัดกิจกรรมชุมนุมเรียกร้องอย่างสันติวิธี โดยผู้บริหารสถานศึกษาได้นำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของนักเรียนมาใช้ประกอบการบริหารสถานศึกษา และมีการผ่อนปรนกฎระเบียบต่าง ๆ ที่นักเรียนเรียกร้องตามความเหมาะสม
3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำที่แท้จริงกับการการส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนตามระบอบประชาธิปไตยในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มอำเภอปากเกร็ด ในภาพรวมมีความสัมพันธ์ทางบวก อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ (r=.68, p<.01)
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบแนวทางการบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของผู้เรียนตามระบอบประชาธิปไตยที่เหมาะสม หลากหลาย และ การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งในการอธิบายความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำที่แท้จริงกับประสิทธิผลในการบริหารสถานศึกษา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤติมา มะโนพรม และคณะ. (2562). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหาร สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม, 6(2), 115-130.
ชรินรัตน์ แผงดี และคณะ. (2562). การพัฒนาระบบการบริหารสถานศึกษาด้วยหลักธรรมาภิบาล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร21(1), 48-59.
ชัยวัฒน์ ถิระพันธ์. (2550). ผู้นำที่แท้ (ศักดิ์สินี เอมะศิริ, ผู้สัมภาษณ์). ผู้นำแห่งอนาคต: คุณธรรมการนำร่วม และการเปลี่ยนแปลงภายใน, 141-145.
ถวัลย์ สุนทรา. (2563). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสิทธิเด็กในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธนปกรณ์ เกตุวิเศษกูล. (2564). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำที่แท้จริงที่มีประสิทธิผลต่อการบริหารสถานศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นิวันตร์ เนตรภักดี. (2555). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำอย่างแท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิ่นบุญญา ลำมะนา. (2560). การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ นิติรัฐศาสตร์, 1(2), 63-81.
พันทิพา เย็นญา และอัจศรา ประเสริฐสิน. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารการวัดผลการศึกษา, 36(99), 28-40.
มลฤดี สิทธิพร. (2563). สมรรถนะการบริหารการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์,7(3), 583-594.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางการพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
วรรณวิสาข์ รัตนพันธ์. (2564). ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22 (2), 127-140.
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์. (2565). ประชาธิปไตยอยู่ไม่ได้ ถ้าขาดไร้ประชาสังคม. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2566, จาก https://tdri.or.th/2022/03/ thinkx_438/?fbclid=IwAR3tEu6zunIHcjffkvRUPOl7hQqQ3rNcN-iX2Bzfj-D-jeD0PWgPeL6U3Qw
สราวุธ ชัยยอง. (2565). ห้องเรียนเสมอภาค แนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่ไม่ทิ้งใครไว้หลังห้อง. วารสารศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,6(3), 14-28.
สุนทร พริกจำรูญ. (2563). ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
สุธาสินี แสงมุกดา. (2556). การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต).จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพ สิกขาพันธ์. (2557). โมเดลภาวะผู้นำที่แท้จริงและผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในภาคใต้: การทดสอบปฏิสัมพันธ์และการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของตัวแปรเพศ (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
สันติ บูรณชาติ. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน บนฐานความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ. (2565). อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ.
อวิภารัตน์ นิยมไทย. (2552). ศาลรัฐธรรมนญและวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ ตอนที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับศาลรฐัธรรมนญ. จุลนิติ,6(1),141-154.
Avolio, B., Luthans, F., & Walumbwa, F.O. (2004). Unlocking the mask: A look at the process by which authentic leaders impact follower attitudes and behaviors. The Leadership Quarterly,15(6), 801-823.
George, B. (2003). Authentic leadership: Rediscovering the secrets to creating lasting value. CA: Wiley, San Francisco.
Dancey, C. P., & Reidy, J. (2002). Statistics without maths for psychology: Using SPSS for Windows. (2nd ed.). Prentice-Hall, Harlow.
Kernis, M. H. (2003). Industrial Psychology. McGraw-Hill Book, New York.
Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. (1970). Determining Sample Size Research Activities. Education and Psychological Measurement, 30, 608-609.
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Matin, Ed. Wiley & Son, New York.
Ilies, R., Morgeson, P., & Jennifer, D. (2005).Authentic leadership and eudaemonic wellbeing: Understanding leader–follower outcomes. The Leadership Quarterly, 16(3), 373-394.
Northouse, P. (2016). Leadership: Theory and Practice. Seventh Edition: Thousand Oaks: SAGE Publications, lnc.
Rahman, F., Abiodullah, M., and Quraishi, U. (2010). Authentic Leadership for Democracy in Schools. Academic Leadership: The Online Journal,8 (2). Available at: https://scholars.fhsu.edu/alj/vol8/iss2/9
Rosemary, B. & Sparrow, P. (1992).Designing and achieving competency: A competency-based approach to developing people and organizations. McGraw-Hill International,(UK) Limited, England.
Walumbwa, F.O., Avolio, B., Gardner, L., Wernsing, S., Peterson, J. (2008). Authentic leadership: Development and validation of a theory-based measure. Journal of Management, 34(1),89-126.