ความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถ ในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 360 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีระดับความต้องการระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.43, S.D.= 0.39) และความต้องการรระบบการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ สำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (x̅ = 4.60 , S.D.= 0.37) 2) ด้านครูผู้สอน (x̅ = 4.54 , S.D.= 0.46) 3) ด้านผู้เรียน (x̅ = 4.40, S.D.= 0.63)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Amornthip Amaraphibal. (2016). Cyber-bullying victimization among youths: Risk factor, mental
health impacts and reporting to the third person. Research Methodology & Cognitive
Science, 14(1), 59-73.
Balakrishnan, V. (2015). Cyberbullying among young adults in Malaysia: The roles of gender.
Computers in Human Behavior archive. 46, 149-157.
Boonriang Kajornsin. (2000). Educational research. Bangkok: S.P.N. PRINTING CO., LTD.
Ekarin Sangthong. (2008). Multicultural Leadership of Public School Directors in Three Provinces.
southern border. Pattani: Prince of Songkla University.
Jintavee Khlaisang. (2016). Web design for teaching applied guidelines for e-learning blended
classes. Chulalongkorn university.
Maslow, A. (1970). Human needs theory: Maslow’s hierarchy of human needs.
In R.F. Craven & C. J. Hirnle (Eds.), Fundamental of Nursing: Human Health and
Function. (3rd ed.) Philadelphia: Lippincott.
Riel, Margaret. (2000). Learning Circles: Virtual Communities for Elementary and Secondary
Schools. Institute of Education Sciences.
Ruthaychonnee Sittichai. (2017). Cyberbullying Behavior among Youth in the Three Southern Border
Provinces, Thailand. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(1), 86-99
Saranont Inthanon. (2018). Cyber Bullying. Bangkok: Natchawat.
Supawadee Charoenwanit. (2017). Cyber Bullying: Impacts and Preventions in Adolescents. Thai
Science and Technology Journal, 25(4), 639-648.
Suwiporn Chailaisathaporn. (2018). Experiences and Guidelines of coping in young thai victim of
cyberbullying. Journal of Research and Curriculum Development, 7(2), 215-234.
Tanyakorn Tudkuea. (2019). Guidelines for Preventive Cyber Bullying Behaviors among Secondary
School Students in the Three Southern Border Provinces. Journal of Behavioral Science for
Development, 11(1), 91-106.
Willard, N. (2007). Cyberbullying and cyberthreats: Responding to the challenge of online
social aggression, threats, and distress. Champaign, IL : Research Press.
Wong, Chan & Cheng. (2013). Cyberbullying Perpetration and Victimization Amon
Adolescents in Hong Kong, Children and Youth Services Review. 36, 133-140.