สภาพเงื่อนไขและกระบวนการสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการศูนย์ การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

คำพรทิพย์ ปรัชญาวาที
นิรันดร์ จุลทรัพย์
นวรัตน์ ไวชมภู

บทคัดย่อ

วิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ 2) ศึกษาเงื่อนไขและกระบวนการขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จของการเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ทบทวนวรรณกรรมจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดประเด็นสัมภาษณ์ และตอนที่ 2 สัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ตรวจสอบทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาตามแบบของโคไลซี่ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา มี 3 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านการขับเคลื่อนหลักสูตรโดยมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ 2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และ 3. ด้านการจัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ และ 2) เงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จของศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ประกอบด้วย 2 เงื่อนไขหลัก 4 เงื่อนไขรอง 11 เงื่อนไขย่อย และ 3 ประเด็น  ส่วนกระบวนการการขับเคลื่อนประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมในการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาขับเคลื่อนในสถานศึกษา ขั้นที่ 2 การจัดระบบการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การจัดกิจกรรมในโรงเรียนและกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ขั้นที่ 4 การดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิต ขั้นที่ 5 การสร้างเครือข่ายและขยายผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonkua, S. and Chinprahat, N. (2014). taking lessons and identity analysis Learning center based on the philosophy of sufficiency economy [Complete Research Report, Education: Sufficiency Education Center Youth Foundation].

Bureau of Strategy and Integration of Education 8. (2010). Sufficiency Economy to the Administration of Basic Educational Institutions. http: www.Strategy8. Moe.go.th.

Colaizzi, P. (1978). Pyschological rerearch as the phenomenologist views it. In Existential Phenomonological Alternatives for Psychology (Vall R.& King M. eds). Oxford University Press, London.

Ministry of Education. (2017). Announcement on the learning center according to the principles of economic philosophy. Education sufficiency. Information and Communication Technology Center: Office Permanent Secretary

Ministry of Education. (2021). Announcement on learning center according to economic philosophy. Education sufficiency. Information and Communication Technology Center: Office Permanent Secretary.

Na Ayutthaya, J.I. and Pibulsarawut, P. (2010). Following in the footsteps of the Father, Sufficiency Life...towards Sustainable development development. Bangkok: Petchrung Printing Center Company Limited.

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education. (2017). Guidelines for driving development according to philosophy of sufficiency economy in the education sector: Bureau of Educational Promotion. Office of the Permanent Secretary Ministry of Education.

Pibulsarawut, P. (2017). Learning center based on the philosophy of sufficiency economy and Education management. Sufficiency Education Center, Youth Foundation. www. Sufficiency economy.org/

Youth Foundation. (2014). Guidelines for driving sufficiency educational institutions towardsustainability. Center Sufficiency Educational Institute, Youth Foundation. www. Sufficiency economy.org/