รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรม

Main Article Content

พระภัทรชัยญกรณ์ ขนฺติยุตฺโต (อูดสวย)
อินถา ศิริวรรณ
พระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรม และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรม เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับรูปแบบ การเสริมสร้างทักษะการสอน และ หลักพุทธธรรม เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย พื้นที่ในการวิจัยคือ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ครูใหญ่ ครู และเจ้าหน้าที่ จำนวน 319 คน 2) ครูใหญ่ จำนวน 207 คน และจัดการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 9 รูป/ คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม และ 4) แบบประเมินรูปแบบ วิเคราะข้อมูลโดยใช้สถิติขั้นพื้นฐานและวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ทั้ง 4 ด้านคือ 1) ทักษะการนำเข้าสู่บทเรียน 2) ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 3) ทักษะการเร้าความสนใจ และ 4) ทักษะเสริมกำลังใจ

  2. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หลักการ ส่วนที่ 2 วัตถุประสงค์ ส่วนที่ 3 การเสริมสร้างทักษะการสอนของครูตามหลักพุทธธรรม คือ 1) หลักพุทธลีลาในการสอน 4 2) วิธีการพัฒนาการเสริมสร้างทักษะการสอน 3) กิจกรรมการเสริมสร้างทักษะการสอน 4) การประเมินผล และ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ

  3. รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรม มีความความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสามารถสรุปองค์ความรู้ในการวิจัยเป็น DABS Model.

องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นรูปแบบในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการสอนของครูที่จะสามารถใช้รูปแบบและแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนควบคู่กับหลักคุณธรรมและจริยธรรมส่งเสริมให้การเรียนมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน ผู้สอน และสถานศึกษาต่อไป

Article Details

How to Cite
ขนฺติยุตฺโต (อูดสวย) พ., ศิริวรรณ อ., & ธนปญฺโญ พ. (2024). รูปแบบการเสริมสร้างทักษะการสอนของครูในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนตามหลักพุทธธรรม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1367–1386. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.82
บท
บทความวิจัย

References

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lakkhana, C. (2018). A Model of Teaching Skills Development Based on Buddhist Educationnal Administration of Thachers in Border Patrol Police Schools [Doctoral dissertation, Mahachulalongkornrajavidyalaya University].

Marut, P. (2015). Enhancing The Potential of Learning Management Model for Thailand TeachersinBorder Patrol Police Schoo. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 448-464.

Nara, T. (2015). The development of instructional model based on buddhism to enhance the desired characteristics focusing on sufficiency economy philosophy for high school students [Doctoral dissertation, Silpakorn University].

Office of Teacher Development and Educational Personnel. (2010). Teacher Competency Evaluation Handbook. Bangkok: Ministry of Education.

Phra Phromkunaporn, (P.A. Payutto). (2013). Buddhist Dictionary. Dhamma 25th edition. Bangkok: Plitamm.

Pongpatcharin, P. (2016). Teaching skills and techniques. Textbook of Teaching Skills and Techniques, subject code 1023301, curriculum for teachers' professional groups [Master’s Thesis, Dhonburi Rajabhat University].

Rungtiwa, J. (2019) The Development of Teacher’s Capacity Encouragement Model in Instructional Activity Designing focused on the 21st Century Thinking Skill Development. Faculty of Education, Journal of Education, Mahasarakham University, 13(3), 209.

Thissana, K. (2013). Science of Teaching: Body of Knowledge for Effective Learning Process. 17th edition. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Wareerat, K. (2006). Curriculum and Instruction Development. Phitsanulok: Department of Education Faculty of Education Naresuan University.