ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

Main Article Content

นิลรัตน์ ปัททุม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด ระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุ ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด และแบบทดสอบก่อนเรียนกับแบบทดสอบหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ซึ่งผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด (mind mapping) ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม ที่เรียนในรายวิชาการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุหลังการทดสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ .05 แสดงว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการออกแบบสร้างสรรค์จากเศษวัสดุมากขึ้น ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้นด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Innoy, A. (2012). Learning achievement in study economic of Pratomsuksa 3 students

at Srinakharinwirot University Prasarnmit Demonstration School (Elementary) after using Mind Mapping technique in the experiment in social science department. Srinakharinwirot University.

Lertsri, A. (2008). Using mind map to enhance conceptualizing skills of prathom suksa 3 students, Wat Don Chai School, Chiang Mai Province. [Master’s thesis, Chiang University].

Meekaew, W. (2013). The effects of learning by using the mind mapping on summarizing concept skill and science achievement of lower secondary school students. Journal of Research Unit on Science, Technology and Environment for Learning, 3(2), 104-109.

Phonanan, T. (2007). Mind Map with Education and Knowledge Management. Bangkok: Kwankao.

Phromphuwong, P. (2010). Effects of Thai language learning activities critical reading, grade 6, using

mind maps. Curriculum and Instruction Program, Mahasarakham University.

Phuttiyatanee. S. (2008). Educational Measurement (6th ed.). Kalasin: Prasan Printing.

Saiyot, L and Saiyot, A. (1995). Research Techniques in Education (4th ed.). Bangkok: Suweerivasarn.

Srisa-ard, B. (2002), Introduction to Research (7th ed.). Bangkok: Suweerivasarn.

Thiengrach, C. (2017). The development of critical thinking abilities through mind mapping

with skill exercise of Thai grade 9 students. [Master’s thesis, Rajabhat Mahasarakham University].

Thipboonmee, T. (2017). Implementing Mind Maps to Develop English Learning Ability of Prathom Suksa 6 Students at Banpangmoo School. Ganesha Journal, 13(1), 73-84.

Tukrua, S. (2001). The effects of cooperative learning using conceptual maps on learning achievement and retention in group learning enhance life experience of prathom suksa 4 students. [Master’s thesis, Rajabhat Srinakharinwirot University].