การสมรสเท่าเทียมกันในฐานะปรากฏการณ์ทางสังคม ตามปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค

Main Article Content

อาทิตย์ สุขอ่ำ
สิริกร อมฤตวาริน

บทคัดย่อ

ปัจจุบันสังคมไทยและวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มีพลวัต มีการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอในทุกด้าน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้บุคคลในสังคมต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผ่านเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนทางความคิดที่ส่งผลต่อบริทบก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางสังคม บทความการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ตามปรัชญากระบวนทรรศน์ทางเลือกเชิงเหตุผลที่มีอิทธิพลต่อกระแสความคิด โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมเรื่องการสมรสเท่าเทียมกันตามปรัชญากระบวนทรรศน์หลังนวยุค 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดการขับเคลื่อนทางสังคมของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ที่พบในสังคมไทย ผลการศึกษาพบว่าทัศนคติ ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ นำไปสู่ความหลากหลายในด้านอุดมการณ์ต่อการขับเคลื่อนทางสังคม ก่อให้เกิดกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ที่เกิดขึ้นตามทัศนคติคนรุ่นใหม่ที่ถูกกีดกันและจำกัดพื้นที่ทางสังคมจนเป็นปรากฏการณ์ เช่น การชุมนุม ประท้วง หรือม็อบ เพื่อเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมกันตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้มองเห็นถึงแก่นความคิดความสำคัญของปรากฏการณ์ในการต่อสู้กับความคิดแง่ลบในสังคมที่มีผลต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นำไปสู่การยอมรับที่หลากหลายของสังคมพหุนิยม ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการมองภาพสะท้อนของสังคมในปัจจุบันและในอนาคตต่อผลที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างทางสังคมที่มีผลต่อความสำคัญของสถาบันครอบครัว และความมั่นคงของโครงสร้างสังคมในแต่ละส่วนเพราะระบบความสัมพันธ์ที่แตกต่างกันย่อมขึ้นอยู่กับการอบรมสั่งสอนหรือการขัดเกลาที่เป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติบดี ใยพูล. (2559). เอกสารประกอบการบรรยาวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน ภาคปลายปีการศึกษา 2559. ขอนแก่น: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

กีรติ บุญเจือ. (2546ก). ปรัชญาประสาชาวบ้าน, เล่มต้น. ในชุดเซนต์จอห์นสอนปรัชญาอย่างง่าย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

จันจิรา สมบัติพูนศิริ. (2559). การลงถนนประท้วงยังจำเป็นไหมในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2565, จาก https://themomentum.co/janjira-sombatpoonsiri-interview/

ถาวร แซ่ลิ่ม. (2552). พฤติกรรมบริโภคอาหารมังสวิรัติของประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(หาดใหญ่).

รวิช ตาแก้ว. (2557). ความหมายของ “กระบวนทรรศน์” ในบริบทวัฒนธรรมไทย การศึกษาเชิง วิเคราะห์ วิจักษ์ วิธาน [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา].

ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

โรงพยาบาลเพชรเวช. (2563). LGBTQ ความหลากหลายที่ต้องเข้าใจ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.petcharavejhospital.com

วิศรุต สินพงศพร. (2563). อธิบาย พ.ร.บ.คู่ชีวิต vs สมรสเท่าเทียม ดราม่าสำคัญที่จะมีผลต่อชีวิตของกลุ่ม LGBT. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://workpointtoday.com

สมภพ เรืองตระกูล. (2546). ความผิดปกติทางเพศ. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

สายใจ เกษสุวรรณ. (2563). ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตและร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายม 2565,จาก https://dl.parliament.go.th/ handle/lirt/571995

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล. (2554). 25 คำนิยามศัพท์ที่เกี่ยวกับเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศ. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2565, จาก http://www.lrct.go.th/th/wp-teht/uploads/2012/08/25-9D.pdf