การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

Main Article Content

ธนวัฒน์ จวนแจ้ง
สิริกร อมฤตวาริน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นบทความเชิงปรัชญามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์วิสัยทัศน์และเป้าหมายการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 2) เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง โดยศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของวิสัยทัศน์และเป้าหมายจากเอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง และนำผลการวิเคราะห์ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง
ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการสอนวิทยาศาสตร์มุ่งเน้นในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ได้จากการศึกษาความรู้วิทยาศาสตร์ควบคู่ไปกับคุณธรรม จริยธรรมความเป็นมนุษย์ ความตระหนักรู้ถึงผลลัพธ์ต่อโลก ธรรมชาติ มนุษย์และสัตว์ เห็นคุณค่าและใช้ประโยชน์ร่วมกันในสังคม วางใจเป็นกลาง ให้เกียรติผู้ที่มีกระแสความคิดอื่นโดยการใช้เหตุผลในการเจรจา ซึ่งเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายการสอนวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง 2) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง ได้โดยการจัดทำหลักสูตรการสอนและวิธีการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความเหมาะสมตามสาระ 4 สาระ และความสอดคล้องตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลางได้

Article Details

How to Cite
จวนแจ้ง ธ., & อมฤตวาริน ส. (2024). การสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1657–1671. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.99
บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กีรติ บุญเจือ. (2545). ปรัชญาหลังนวยุค แนวคิดเพื่อการศึกษาแผนใหม่. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

กีรติ บุญเจือ. (2546). ปรัชญาประสาชาวบ้าน, เล่มต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

กีรติ บุญเจือ. (2560). ปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: เจริญผลกราฟฟิค.

กีรติ บุญเจือ. (2560). ปรัชญาและจริยศาสตร์สมัยใหม่. กรุงเทพฯ: เจริญผลกราฟฟิค.