รูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

มาธุรี อุไรรัตน์
วันชัย ธรรมสัจการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุในชุมชน เขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รูปแบบการวิจัยเป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดการเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิทเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ชุมชนเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้สูงอายุวัยต้นเพศหญิง จำนวน 13 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 4 ชนิด คือ 1) แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (ADL) 2) แบบประเมินภาวะสมองเสื่อม 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ และ 4) แบบสัมภาษณ์รูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกิจกรรมที่ผู้สูงอายุในชุมชนเขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาต้องการ คือ กิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมและสร้างคุณค่าให้กับตนเอง ซึ่งสามารถสรุปได้เป็น 7 รูปแบบ ได้แก่ 1) กิจกรรมที่สร้างความสนุกสนาน 2) กิจกรรมที่ส่งเสริมสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจ 3) กิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้และรายได้ 4) กิจกรรมที่สร้างความสำเร็จ 5)กิจกรรมที่สร้างประโยชน์ 6) กิจกรรมที่สร้างการยอมรับ และ 7) กิจกรรมที่เพิ่มความสัมพันธ์ ซึ่งข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดีครอบคลุมทั้งในด้านร่างกายและจิตใจต่อไป รวมถึงรู้สึกมีคุณค่าและสามารถอยู่ร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้อย่างมีความสุข

Article Details

How to Cite
อุไรรัตน์ ม. ., & ธรรมสัจการ ว. (2024). รูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้สูงอายุ เขตเทศบาลเมืองคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1609–1624. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.96
บท
บทความวิจัย

References

Branden, N. (1985). Honoring the Seif: Self-esteem and Personal Transformation. New York: Bantam Books.

Brocker, J. (1988). Self-Esteem at Work: Research, Theory and Practice. D.C. Heath & Co, Lexington.

Cheandon, C., Suwannapong, N., Boonshuyar, C. and Howteerakul, N. (2011). The quality of the elderly in rural areas. Wang Nam Khiao District Nakhon Ratchasima Province. Thai Journal of Public Health, 41(3), 229-239.

Choeysombut, M., Wattana, J. and Khemthong, P. (2017). Recreational Activities in Arts and Crafts for Strengthening Self-Esteem of the Elderly in Tadcha Villa Community, Bangkok. Dusit Thani College Journal, 11(3), 257-258.

Connie, P. (2001). Self-Esteem and The 6 Second Secret. Corwin Press, Inc .

Coopersmith, S. (1981). The Antecedent of Self-Esteem. 2nd. ed. Californai: Consulting Psychologist Press, Inc.

Coopersmith, S. (1984). SEI: Self-Esteem Inventories. 2nd. ed. Californai: Consulting Psychologist Press, Inc.

Department of Mental Health. (2012). A guide to 5 dimensions of happiness for the elderly. Beyond Publishing Co., Ltd.

Kaewsaeng-on, W., Dulyakasem, U., Rodkantuk, J. and Hemtanon, P. (2021). The Relationship among Self-esteem, Depression and Quality of life of the Elderly with chronic diseases in urban areas Nakhon Si Thammarat Province. Journal of MCU Nakhondhat, 8(11), 127-139.

Krajangpho, S., Patphol, M., Wongyai, W. and Dusadeemetha, C. (2018). Development of a model for enhancing self-esteem of the elderly using activities as a base. Royal Thai Navy Medical Journal, 45(2), 349-376.

Na nongkai, N., Rattanaprapawan, S. and Tadade, C. (2022). Appropriate design to Promote Self-Esteem in Elderly population. RMUTK Journal of Liberal Arts, 4(1), 59-70.

National Statistical Office. (2021). Survey of the Elderly in Thailand, Year 2021. National Statistical Office.

Panich, R. and Maneethong, P. (2021). The Enhancing Aesthetics for building Self-esteem in Elderly People. Humanities and Social Sciences Review, 9(3), 28-39.

Phuttharod, P. and Sillapagumpised, K. (2021). The Effect of a Resilience enhancement Program on Self-esteem and Depression of the Elderly with a Depressive Disorder. NRRU Community Research Journal, 15(1), 70-82.

Putthinoi, S. (2004). Relationship between relationships with others and life satisfaction of the elderly living in nursing homes [Master’s Thesis, Chiang Mai University].

Rosenberg, M. (1965). Society and the adolescent self-image. Princeton, NJ: Princeton University Press.

Rosenberg, M. (1979). Coneeving the Self. Illinois: Bennep Publishing Co.

Saengtong, J. (2015). Aging Society (Complete): Quality of old age. Rusamilae Journal, 38(1), 6-28.

Thepsittha, S. (2006). Sufficiency Economy under the Royal Initiative. Bangkok: Young Buddhists Association of Thailand.

Thewalertsakul, N. et al. (2016).The Development of the Elderly as a Burden to Power: Case Study of Rangsit City Municipality. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(1), 529-545.

Vilawarn, J. and Laokhompruttajan, J. (2022). The Effect of Socio-Cultural Program for Promoting Quality of Life and Depressive Prevention in the Elderly, Na Fai Sub District, Mueang Chaiyaphum District, Chaiyaphum Province. Research and Development Health System Journal, 15(1), 181-195.

Wongsri, P., Suriya, N. and Yovapui, P. (2013). Empowering the Elderly. Srimahasarakham Nursing College.