การศึกษาและการจัดทำแผนการสร้างฝายมีชีวิต ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างฝายมีชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม 2) เพื่อจัดทำแผนการสร้างฝายมีชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ พื้นที่วิจัย คือชุมชนบ้านหัวโกรก หมู่ที่ 7 ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคประชาสังคมที่ให้ข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 13 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสำรวจข้อมูล 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
1. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า พื้นที่บริเวณชุมชนบ้านหัวโกรก หมู่ที่ 7 ตำบลพญาเย็น อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยมีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการสร้างฝายมีชีวิตประกอบด้วย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม มีคลองหัวโกรกที่เคยมีน้ำไหลตลอดทั้งปี และปัจจัยด้านสังคม พื้นที่ทางทิศใต้ของคลองหัวโกรก ติดกับศูนย์ปฏิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม ซึ่งเป็นองค์กรทางศาสนา ที่มีภาคประชาสังคมที่มีศักยภาพสามารถเป็นแกนหลักในการสร้างพลังขับเคลื่อนและการประสานความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนและภาคประชาสังคมได้เป็นอย่างดี 2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่า การจัดทำแผนการสร้างและพัฒนาฝายมีชีวิตโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม แบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ การทำเวทีประชาเข้าใจ เป็นการจัดประชุมโดยกระบวนการมีส่วนร่วม การใช้พลังจิตอาสา เป็นการร่วมลงมือปฏิบัติตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ ชุมชนและภาคประชาสังคมเกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคม ทำให้ชุมชนมองเห็นคุณค่าความสำคัญของการมีทรัพยากรน้ำ และการร่วมสร้างกติกาการใช้ประโยชน์จากฝายมีชีวิต เพื่อกำกับดูแลการใช้ประโยชน์ การบำรุงรักษาและการพัฒนาให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ ได้รูปแบบการบริหารจัดการน้ำร่วมกันของชุมชน เพื่อการอุปโภค บริโภค การเกษตร การฟื้นฟูระบบนิเวศ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Aiumprasertkul, S. (2020). Community Water Management to Promote of the Agricultural Income. Journal of Rangsit Gradate Studies in Business and Social Sciences,6(1), 235-249.
Boonbumrung, B. (2017).Create a water dam to suit the conditions of the area. For more effective water management. [Royal Thai Army College].
Kongkew, S. (2018). The crazy people make water. Agsorn Printing.
Pilailar, W. (2010). Farmer Management of Check Dam in Khun Changkhein Village in Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai Province [Master's Thesis, Chiang Mai University].
Roopngam, Y. (2002). Participation on Bureaucratic Reform of the Bureua of the Budget [Master’s Thesis, National Institute of Development Administration].
Sarawadi, D., Jantasri, N., & Intakote, C. (2009). Local Wisdom Promotion in Kok Panang Yai communal forest for Nampong Watershed Management. KKU Research Journal, 14(9), 822-838.
Sawatdee, A. (1999). Cognition and awareness of environmental conservation of high school students: Case study in Bangkapi area Bangkok [Master’s Thesis, National Institute Development Administration].
U-thaisang, W. (2016).Awareness of Risk Management and leading the management Risk to the practice of personnel. Mahasarakham University.
Utokapat Foundation under royal patronage of H.M. the King. (2014). Management of community water Resources according to royal initiatives. Institute of Water Resources and Agriculture (Public Organization). Bangkok. https//:www.utokapat.org
Veeravatnanond, V. (2018). Principles of teaching the environment. Kanpimdotcom.
Water Situation Analysis Center Royal Irrigation Department. (2019). The amount of precipitation in the past decade (2012-2021). http://water.rid.go.th/flood/flood/