รูปแบบการจัดการพัฒนาสมรรถณะฝีมือแรงงานช่างเชื่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาแรงงาน กระทรวงแรงงาน

Main Article Content

ประสงค์ ศิริมณฑล
สุพัตรา ยอดสุรางค์
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

บทคัดย่อ

ความต้องการแรงงานฝีมือช่างเชื่อมอัตโนมัติที่สามารถปฏิบัติงานให้กับ โรงงานอุตสาหกรรมของโครงการพัฒนาระเบียง เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่ขาดแคลน ทั้งปริมาณและคุณภาพ ดังนั้น กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมมือกับภาคเอกชน จัดการพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการพัฒนาการฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน แรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติ 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการ วิจัยผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความจากเนี้อหาและแก่นสาระ การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทาง สถิติ จากแบบสอบถาม ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาคตะวันออก คำนวนจากแนวคิดของยามาเน จำนวน 200ราย วิเคราะห์ด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์สหลัมพันธ์ เพียรสัน และ สมการถดถอยเชิงพหุ


ผลการวิจัย 1) ด้านการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน ช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประสบความสำเร็จในระดับมาก 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการพัฒนาการฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงาน พบว่า เป็นเชิงบวก ในระดับ มากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) แบบจำลองการจัดการพัฒนาฝีมือแรงงานช่างเชื่อมอัตโนมัติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ประกอบด้วย -256 ค่าคงที่ +.787การจัดการภายใน  +.185 บริบทแวดล้อมภายนอก +.152 คุณสมบัติการเป็น ช่างเชื่อม ผลการวิจัยสอดคล้องกันทั้งสองวิธี

Article Details

How to Cite
ศิริมณฑล ป., ยอดสุรางค์ ส., เจริญพุฒ ว., & เชาว์แสงรัตน์ เ. (2024). รูปแบบการจัดการพัฒนาสมรรถณะฝีมือแรงงานช่างเชื่อม สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาแรงงาน กระทรวงแรงงาน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(2), 973–984. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.59
บท
บทความวิจัย

References

Ahmad, Z. and Rofiq, Z. (2020). Development of Competency-Based Assessment Model Welding Practices for Vocational School Students. American Journal of Educational Research, 8(1), 29-34.

Kayarohanam and Easwaran. (2017). Trends In Welding Skill Improvement Initiatives: WRI Perspective. Welding Research Institute (WRI), BHEL, Tiruchirappalli.

Layus, P., and Martikainen, K. J. (2013). Material and welding requirements for Arctic oil and gasindustry.https://www.researchgate.net/publication/267450167_Materialand_welding_requirements_for_Arctic_oil_and_gas_industry

Puncharat Liampromrat. (2020). Strategies For Competency Development of Instructors And Trainees of Skilled Labor at the Department of Skill Development, Ministry of Labor [Doctoral dissertation, Silpakorn University].

Ruankaew, K. (2020). 83.5 per cent of the workforce in Thailand is unskilled. https://www.shorturl.asia/VzyeC