แบบจำลองของการจัดการเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ ของเทศบาลเมืองหัวหิน

Main Article Content

ปราโมทย์ อุ่นจิตสกุล
สุพัตรา ยอดสุรางค์
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการความพร้อมของการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมือง หัวหิน 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความพร้อมการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะกับความพร้อมการจัดการของเทศบาลเมืองหัวหิน 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองที่สามารถพยากรณ์ความพร้อมการจัดการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะของเทศบาลเมืองหัวหิน


          การวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วยการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย 1) แนวคิดสมาร์ทซิตี้ เมืองอัจฉริยะ 2) ทฤษฎีการจัดการและการจัดการเมือง 3) แนวคิดและทฤษฎีปัจจัยที่จัดการเปลี่ยนแปลงฐานะเข้าสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ 4) รูปแบบการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปสู่อัจฉริยะเปรียบเทียบการวิจัยเชิงเชิงคุณภาพ เริ่มจากการสำรวจเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิจัยเชิงปริมาณใช้สถิติค่า ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ เพียรสันและสมการถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านการจัดการความพร้อมเทศบาลเมืองหัวหิน พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความพร้อมเทศบาลเมืองหัวหินกับปัจจัยที่มีผลต่อความพร้อมเทศบาลเมืองหัวหิน พบว่าในระดับปานกลางค่อนข้างสูงถึงระดับสูงมากในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) การจัดการเทศบาลเมืองหัวหินไปสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะ =.195 ค่าคงที่ +340 ปัจจัยเศรษฐกิจอัจฉริยะ +.278 ปัจจัยสี่งแวดล้อม อัจฉริยะ +.160 การจัดการภาครัฐอัจฉริยะ+ ปัจจัยพลเมืองอัจฉริยะ +.064 ปัจจัยด้านการดำรงชีวิตอัจฉริยะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Argyriou, L., Economou, D. and Bouki, V. (2017). 360-degree interactive video application for Cultural Heritage Education. Austria: Verlag der Technischen Universität Graz.

Camp, C.R. (1989). Benchmarking The Search for Industry Best Practices that Lead to Superior Performance. Retrieved Form: https://shorturl.asia/zCemj, July 19 2020.

Komminos. (2015). The Age of Intelligent Cities.Smart environments and innovation for all strategies. New York: Routledge.

Kokphol, O. (2020). Decentralized Situation ReportYear 2019 : Survey on Smart City Development of Local Administrative Organizations. Retrieved Form: https://shorturl.asia/xt8QA, March 12, 2020.

Karlof and Ostblom. (1993). Benchmarking: A Signpost to Excellence in Quality and Productivity. U.S.A.: Wiley.

Pujinda, P. & Boonsom, Y. (2016). Urban Design Guideline for SpecificPurposed Towns. Journal of Environmental Design, 3(1), pp. 21-43.

Rida, K., Sherali, Z. (2016). Smart Cities: Concepts, Architectures, Research Opportunities Communications of the ACM, 59(8), pp. 46-57.

Jenrangsran, S. & Saengkold, W. (2019). Role of monks in social development in Chiang Mai Province. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2) pp. 90-110.

Siam Commercial Bank. (2021). Smart City คืออะไร? ต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง. Retrieved Form: https://shorturl.asia/pQZwH, July 18 2020.

Sumalee, A. & Tanchai, C. (2021). Smart City 2021: basic concepts and operation system for digitalin Smart City. Retrieved Form: https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-25587, March 27, 2020.

Tan Yigitcanlara, Md. Kamruzzamanf, Laurie Buysb, Giuseppe Ioppoloc, Jamile Sabatini- Marquesd, Eduardo Moreira da Costad, JinHyo Joseph Yunev. (2016) Understanding ‘smart cities’: Intertwining development drivers with desired outcomes in a multidimensional. Retrieved Form: https://shorturl.asia/wOLFe, July 3 2020.

Mesupnikom, N., Nugprachaya, O., Bunyavejchewin, P., & Sukthungthong, N. (2019). A Preliminary Comparative Study of Smart Cities Development in Japan and Thailand. Journal of East Asian Studies, 23(2), pp. 328–351.

Watson, G.H. (1993). “How process benchmarking supports corporate strategy.” Retrieved Form:

https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1108/eb054395/full/html, July 14 2020.