กลยุทธการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย

Main Article Content

กำธร สร้อยพรรณา
สุพัตรา ยอดสุรางค์
วรสิทธิ์ เจริญพุฒ
เชาวฤทธิ์ เชาว์แสงรัตน์

บทคัดย่อ

ความเสี่ยงทางการคลังเป็นปัจจัยหนึ่งของความอ่อนแอทางการคลังและการจัดการการคลังที่ด้อยประสิทธิภาพที่ส่งผลให้เทศบาลอาจจะต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตการคลังในอนาคต จากการขาดดุลงบประมาณอย่างต่อเนื่องจนเกิดผลกระทบต่อสถานะทางการเงินหรือสภาพคล่องของเทศบาลและส่งผลให้เทศบาลต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้นจำนวนมาก หรือมีระดับหนี้คงค้างเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติเกินกว่าระดับที่กำหนด บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย 2) เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยงทางการการคลังท้องถิ่น ของเทศบาลเมือง 3) เพื่อนำเสนอแบบจำลองของกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังท้องถิ่นของเทศบาลเมือง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยผสมผสาน ประกอบด้วยการ วิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกและการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ของเทศบาลเมืองกลุ่มตัวอย่าง รวม 21 คน แปลผลการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร ข้าราชการ สมาชิกสภาเทศบาล จำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิสหสัมพันธ์ เพียรสัน และสมการถดถอยเชิงพหุ


ผลการวิจัย 1) ด้านการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทยพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังกับปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยง พบว่า มีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับปานกลางถึงปานกลางค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความเสี่ยงทางการการคลังท้องถิ่น สามารถพยากรณ์กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อรองรับการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมือง ร้อยละ 64.1

Article Details

How to Cite
สร้อยพรรณา ก., ยอดสุรางค์ ส., เจริญพุฒ ว., & เชาว์แสงรัตน์ เ. (2024). กลยุทธการจัดการความเสี่ยงทางการคลังของเทศบาลเมืองจังหวัดภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(2), 643–658. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.40
บท
บทความวิจัย

References

Baldersheim, H. (1992). Fiscal stress and local political environments. In Managing cities in austerity: Urban fiscal stress in ten Western countries. ed. Poul E. Mouritzen. London: Sage Publications.

Dadang, S. (2017). Factors affecting quality of local government financial statements to get unqualified opinion (WTP) of audit board of the Republic of Indonesia (BPK). Research Journal of Finance and Accounting, 6(4),139-157.

Jamphut, O. (2021). Thai Local Government Organizations’ Management of Fiscal Risk Academic. Journal for the Humanities andSocial Sciences Dhonburi Rajabhat University, 4(1),120-131.

John, M.T. & Patricia, A. P. (2018). Assessing and ranking the financial risk of municipal governments. Journal of Applied Accounting Research, Emerald Group Publishing Limited, 19(1), 81-101.

Kraan, D. J. (2001). Cutback management in the Netherlands. Public Budgeting and Finance, 21(2), 46-61.

Kruathep, W. (2010). Decentralization regime and Reformation of Thailand, Volume 4, on Participation and Strengthening of the People's Sector and Examination of Operations of Local Government Organizations Center for local Innovation and governance. Bangkok: Chulalongkorn University.

Kruathep, W. (2012). Financial and fiscal adjustment strategies of local government organizations. Under crisis conditions. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Kruathep, W.(2012).Retrenchment Strategies of Thai Municipalities during Economic Downturn. Bangkok: King Prajadhipok’s Institute.

Krzysztof, K. (2017). Risk assessment of the local government sector based on the ratio analysis and the DEA method. https://shorturl.asia/Vvd9b

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Finance. (2019). Risk management manual for the Ministry of Finance Management System Development Group. https://shorturl.asia/WwlQN

Petsuksiri, P. (2006). Attitude Measurement. Nakhon Pathom: Mahidol Universityy.

Poolsawat, k. (2007). The Study of Fiscal Structure of City Municipality [Master’s Thesis, Srinakharinwirot University].

Schick, A. (1980). Budgetary adaptations to resource scarcity. In Fiscal stress and public policy, eds. Charles H. Levine and Irene Rubin. 113-134. Beverly Hills, CA: Sage Publications.