แบบจำลองพยากรณ์อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยประเภทหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ในพื้นที่โดยรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

Main Article Content

ชัญญรัชต์ นิธิธีรพัชร์
เอนก สุวรรณชัยสกุล

บทคัดย่อ

การย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานหรือศึกษาต่อในจังหวัดปทุมธานีส่งผลให้ความต้องการที่พักอาศัยชั่วคราวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การตัดสินใจเช่าห้องพักของผู้เช่าขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่ออัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และ 2) สร้างแบบจำลองเชิงเส้นสำหรับพยากรณ์อัตราค่าเช่า รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุเป็นกรอบแนวคิดการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ที่อยู่อาศัยให้เช่าประเภทหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ในระยะรัศมี 5 กิโลเมตร โดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยให้เช่าประเภทหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ในระยะรัศมี 5 กิโลเมตร โดยรอบมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 400 ราย ใช้วิธีคัดเลือกแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ด้วยวิธีการเพิ่มตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทางกายภาพที่ส่งผลต่ออัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ประกอบด้วย 10 ปัจจัย คือ ห้องออกกำลังกาย การตกแต่งภายในห้องพัก พนักงานรักษาความปลอดภัย พื้นที่ใช้สอย อินเทอร์เน็ต/ไวไฟฟรี ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหารตามสั่ง ร้านเสริมสวย ลิฟต์ และร้านซักรีด และ 2) แบบจำลองพยากรณ์อัตราค่าเช่าที่ดีที่สุด คือ รูปแบบ Linear – Linear มีความแม่นยำสูงถึงร้อยละ 77.10 หรือคิดเป็นค่าความคลาดเคลือนเพียงร้อยละ 22.90 และเป็นสมการพยากรณ์รูปแบบเดียวที่มีค่า Durbin-Watson ที่ได้จากการทดสอบอยู่ในช่วงขอบเขตล่างถึงขอบเขตบนของค่า Durbin – Watson ที่ได้จากการเปิดตาราง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าค่าความคลาดเคลื่อนเป็นอิสระต่อกัน มีค่าเฉลี่ยของค่าส่วนที่เหลือเท่ากับ 0.000 และมีค่าผลรวมของความเบี่ยงเบนกำลังสองเท่ากับ 84.940 ซึ่งสามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ว่าค่ามาตรฐานของ Y (อัตราค่าเช่าต่อเดือน) = 0.338 (ค่ามาตรฐานของห้องออกกำลังกาย) + 0.274 (ค่ามาตรฐานของการตกแต่งภายในห้องพัก) + 0.034 (ค่ามาตรฐานของพนักงานรักษาความปลอดภัย) + 0.214 (ค่ามาตรฐานของพื้นที่ใช้สอย) + 0.082 (ค่ามาตรฐานของอินเทอร์เน็ต/ไวไฟฟรี) - 0.205 (ค่ามาตรฐานของร้านสะดวกซื้อ) + 0.160 (ค่ามาตรฐานของร้านอาหารตามสั่ง) - 0.111 (ค่ามาตรฐานของร้านเสริมสวย) + 0.113 (ค่ามาตรฐานของลิฟต์) + 0.078
(ค่ามาตรฐานของร้านซักรีด)

Article Details

How to Cite
นิธิธีรพัชร์ ช., & สุวรรณชัยสกุล เ. . (2024). แบบจำลองพยากรณ์อัตราค่าเช่าที่อยู่อาศัยประเภทหอพักหรืออพาร์ทเม้นท์ในพื้นที่โดยรอบสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(1), 324–341. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.20
บท
บทความวิจัย

References

Amthong, N. (2016). A study of reasons of continuing to stay at the dorm moo 7, Don Huaror District, Muang, Chonburi [Master’s Thesis, Burapha University].

Benoit, K. (2011). Linear regression models with logarithmic transformations. London: Methodology Institute, London School of Economics.

Miles, J., & Shevlin, M. (2001). Applying regression and correlation: A guide for students and researchers. London: SAGE Publications.

Pedhazur, E. J. (1997). Multiple regression in behavioral research: Explanation and prediction (3rd ed). San Diego, California‎: Harcourt Brace College.

Prakobmoon, L. (2013). Factors influencing student decision making to choose student accommodation in Pathumthani province [Master’s Thesis, Rajamangala University of Technology Thanyaburi].

Prasithrathsint, S. (2013). The use of statistics in research is accurate and meets international standards (6th ed). Bangkok: Samlada.

Thaneeyapanich, N. (2556). NP Apartment business plan [Master’s Thesis, Bangkok University, Business Administration].

Theetanapat, S., & Pasunon, P. (2015). The factors affecting the decision to rent private dormitory of Silpakorn University Sanamchandra Palace campus’s students [Master’s Thesis, Silpakorn University].

Thinakanan, S. (2008). Creating an instrument to measure variables in social science research approach to action. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Thirasirimeteekul, N., & Jarutat, T. (2021). Living conditions of Chulalongkorn University students residing at dormitories around Chulalongkorn University. Sarasatr Journal, 1, 27-38.

Vanichbuncha, K. (2010). Advanced statistical analysis with SPSS for Windows. Bangkok: Department of Statistics, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University.

Wongrattana, C.(2001).Techniques for using statistics for research. Bangkok: Srinakharinwirot University.

Wongsuphachartkun, F. (2015). Factor effecting decision on room rental in Bangkok metropolitan region. [Master’s Thesis, Thammasat University].

Yamane, T. (1973). Statistic: An introductory analysis (3rd ed). New York: Harper and Row Publications.