ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศรีทรงพล ศรีฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และ 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 437 โรง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางประมาณการขนาดตัวอย่างของเครซี่ และ มอร์แกน ได้จำนวน 205 โรง โดยกำหนดผู้ให้ข้อมูลแห่งละ 2 คนประกอบไปด้วย ได้แก่ 1) ผู้บริหาร จำนวน 1 คน และ 2) ครูผู้รับผิดชอบงานความสัมพันธ์ชุมชน จำนวน 1 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ (1) การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม (2) การสอนทักษะการพึ่งพาตนเองแก่นักเรียน และ (3) ปลูกฝังเรื่องจริยธรรมและความสุจริตแก่องค์กร 2) ผลการยืนยันองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 องค์ประกอบ ได้รับยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิว่า มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

Article Details

How to Cite
ศรีฤกษ์ ศ. (2023). ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 275–293. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.19
บท
บทความวิจัย

References

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จารุวรรณ นิ่มตลุง. (2556). ความรับผิดชอบต่อสังคมในการจัดการศึกษาของโรงเรียนเครือภคินีเซนต์ปอล เดอ ชาร์ตร ในประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ประทีป ทับโทน. (2563). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียน สังกัดเทศบาล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ประเสริฐ ทองบริสุทธิ์, ศักดา สถาพรวจนา และเนติ เฉลยวาเรส. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 11(2), 324 -340.

พิสมัย สาระชาติ. (2557). ผลกระทบของประสิทธิผลความรับผิดชอบต่อสังคมทางการบัญชีที่มีต่อภาพลักษณ์องค์กรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 33(1), 164-174.

ภิรมย์ ลี้กุล. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รัตน์ชัย ศรสุวรรณ. (2557). การบูรณาการความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2554). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม. (2556). เข็มทิศธุรกิจเพื่อสังคม. กรุงเทพฯ: Meb's Pick.

อนุศรา โกงเหลง. (2562). ความรับผิดชอบต่อสังคมของโรงเรียนสาธิต สังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,10(1), 567.

เอกอมร เอี่ยมศิริรักษ์. (2555). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนกวดวิชาเพื่อส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคม (ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Elving, W.J.L. (2013). Scepticism and corporate social responsibility communication: The influence of fit and reputation. Journal of Marketing Communication, 19(4), 1-16.

Kotler, P.and Lee, N. (2005). Corporate social responsibility: Doing the most good for your Company and your cause. Hoboken, NJ: John Wiley & Sons.

Swider, M.G. (2013). ISO 26000 corporate social responsibility dimensions and employee engagement: a quantitative investigation (Ph.D.of Philosophy). School of Business and Technology, Capella University.