ผลของการใช้วิธีสอนแบบซิปปาที่มีผลต่อความฉลาดรู้การอ่านและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง

Main Article Content

แก้วนภา ทองเทศ
แสน สมนึก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงทดลองใช้แนวคิด การจัดการเรียนรู้แบบซิปปาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย
คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา 2) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้การอ่าน และ 3) แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีมโดยใช้รูบริก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบทีชนิดไม่เป็นอิสระต่อกันและสถิติการทำสอบทีชนิดเปรียบเทียบข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1. ความฉลาดรู้การอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05  2. ทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบซิปปาสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

Article Details

How to Cite
ทองเทศ แ., & สมนึก แ. (2023). ผลของการใช้วิธีสอนแบบซิปปาที่มีผลต่อความฉลาดรู้การอ่านและทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขยายโอกาสในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอ่างทอง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 294–309. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.20
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จารุพักตร์ จ่าจันทึก. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ CIPPA และการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

จินดาหรา นิราศสูงเนิน. (2562). ทักษะการทำงานเป็นทีม โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีสื่อสังคมสนับสนุน สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบรบือ. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พงค์ผกา เดชโนนสังข์. (2562).การพัฒนาความสารถด้านการเขียนสื่อสารภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา ประกอบแบบฝึก (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พวงรัตน์ เกสรแพทย์. (2557). การบริหารและจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

ไพศาล วรคำ. (2562). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. มหาสารคราม: ตักสิลา.

สง่า วงศ์ไทย. (2563). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การอ่าน. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(79),1-10.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). Focus ประเด็น Pisa. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สันติวัฒน์ จันทร์ใด. (2562). แบบฝึกหัด การฉลาดู้การอ่าน Reading Literacy for Practice. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2562). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ชุดความฉลาดรู้ (literacy). กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

สุกัญญา จิตพลีชีพ. (2561). สมรรถนะการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2560). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนา ทักษะผู้เรียน ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันท์ วัฒนวงศ์. (2556). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความและความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังมโนทัศน์และการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.