รูปแบบการท่องเที่ยวโดยใช้อาชาในเขตทหาร กองทัพบก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่อง รูปแบบการท่องเที่ยวโดยใช้อาชาในเขตทหาร กองทัพบก มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวโดยใช้อาชาในเขตทหาร กองทัพบก เพื่อให้เกิดรูปแบบการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ และเป็นทางเลือกให้กับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mix method research) คือ การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวโดยการใช้อาชาในเขตทหาร กองทัพบก ในปี พ.ศ.2564 จำนวน 310 ชุด และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) กับผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยใช้อาชาในเขตทหาร กองทัพบก จำนวน 17 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการท่องเที่ยวโดยใช้อาชาในเขตทหาร กองทัพบก ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านสถานที่ การบริการจัดการการท่องเที่ยว คุณภาพการบริการของหน่วยงาน การบริการจัดการ การท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว และการพัฒนาการบริการท่องเที่ยวของหน่วยงาน เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศสามารถเข้ามาใช้บริการ และได้รับความพึงพอใจสูงสุด โดยมีข้อเสนอแนะที่สำคัญคือ การสร้างความหลากหลายทางการท่องเที่ยว และการแสวงหาเครือข่ายทางการท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). พิธีลงนาม ข้อตกลงความร่วมมือ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวในเขตทหาร กองทัพบก โครงการ “อาร์มี่แลนด์”. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2562, จาก https://www.mots.go.th/News-view.php?nid=11094
หนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน. (2563). แหล่งท่องเที่ยวในเขตทหาร พื้นที่กองทัพภาคที่ 3. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2563, จาก http://www.xn--42c6aobm0m5a5d2cc.com/2019/?p= 11377
กอบกาญจน์ เหรียญทอง. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวตลาดน้ำอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม (สารนิพนธ์ปรัชญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม.
ชนิษฐา ใจเป็ง. (2563). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมชุมชนบ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2546). การพัฒนาระบบการตรวจราชการและผู้ตรวจราชการ. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 16(2), 199-220.
บรรจบ มูลเชื้อ. (2563). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตพื้นที่กองทัพเรือ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 7(1), 288-300.
พัดชา ตีระดิเรก. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบริษัทนำเที่ยวของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑล (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. นนทบุรี: เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์.
ภุชงค์ แย้มพริบพรี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กรณีศึกษา: เทศบาลเมืองชะอำ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 6(2), 34-45.
ฤดิกร เดชาชัย. (2557). การจัดการผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนของชนเผ่าอาข่า จังหวัดเชียงราย (ดุษฎีนิพนธ์บริหารศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
สิริรัตน์ นาคแป้น. (2555). พฤติกรรมและแรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการมาท่องเที่ยวเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination in the future. Tourism Management, 21(1), 97-116.
Christopher H. L. (1996). Service Marketing (3rded.). New Jersey: Prentice Hall.
Davidson, R. (1995). Tourism (2nd ed.). Essex: Longman.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Mill, R. C. (1990). Tourism the international Business. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Zeithaml, V. A., Parasuraman, A. & Berry, L. L. (1990). Delivering Quality Service. New York:The Free Press.