การบริหารโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กันต์ลภัส อชิรปัญญานันท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อทราบองค์ประกอบเชิงยืนยันของการบริหารโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร 2)  เพื่อทราบผลการเปรียบเทียบการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยการใช้ CIPP Model กับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ใช้แนวคิดศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่การวิจัยคือโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้แก่โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 205 โรงเรียน ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งประเภท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์การประเมินโครงการ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายในแต่ละเขต
ได้โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 50 โรงเรียน และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบประเมินผลโครงการโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณา 


ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบเชิงยืนยันการบริหารโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การวางแผนและการมีส่วนร่วม  2) การจัดการเรียนการสอน 3) การส่งเสริมสนับสนุน 4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2. ผลการประเมินโครงการโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร ด้วยการใช้ CIPP Model พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 1 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาวะแวดล้อม และอยู่ในระดับมาก จำนวน 3 ด้าน  ส่วนการประเมินผลโครงการโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่าทุกด้านมีความเหมาะสม

Article Details

How to Cite
อชิรปัญญานันท์ ก. (2023). การบริหารโรงเรียนคุณธรรมสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1354–1369. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.110
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รมว.ศธ.ให้นโยบายผู้บริหาร. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2559, จาก http://moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewID=43199&Key=news_act

กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานและการประกันคุณภาพ สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา. (2561). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โกสินทร์ ช้างบุญ. (2560). การติดตามผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนโรงเรียนขุนยวมวิทยา อำเภอขุนยวมวิทยา จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์บริหารการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น.

จิตราภรณ์ วนัสพงศ์ และชนัญชิตา ทุมมานนท์. (2561). การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานครสู่ความยั่งยืน. กรุงเทพฯ: เทเวศประกันภัย (มหาชน) จำกัด.

เทเวศ ประกันภัย (มหาชน) จำกัด และสถานศึกษาในเขตพระนคร. (2559). โครงการโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพฯ: เทเวศประกันภัย (มหาชน).

ปฏิวัติ ใจเมือง. (2559). การประเมินโครงการคุณธรรมจริยธรรม ของโรงเรียนขี้เหล็กพิทยาคม อำเภออาจสามารถ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 5(2), 67-77.

ปัญญเดช พันธุวัฒน์. (2559). การติดตามประเมินผล และสังเคราะห์องค์ความรู้โครงการโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

ปภัสวดี วีรกิตติ และคณะ. (2560). คู่มือปฏิบัติโรงเรียนคุณธรรม. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิซซึ่ง.

พระครูสมุห์ศรัณย์ ปญฺญาวชิโร (ทำนุ). (2556). การส่งเสริมคุณธรรมนักเรียนระดับประถมศึกษาโรงเรียนวัดเปาโรหิตย์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัตนะ บัวสนธ์. (2550). ทิศทางและอาณาบริเวณการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรวุฒิ แสงเฟือง.(2561). โรงเรียนคุณธรรม:ตอนสังเคราะห์องค์ความรู้การขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมในสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: เทเวศ ประกันภัย.

วีรวิท คงศักดิ์. (2559). โรงเรียนคุณธรรม “บางมูลนากโมเดล”. สืบค้นเมื่อ 18 มกราคม 2559, จาก http://moralcenter.or.th/2014/?article

ศูนย์โรงเรียนคุณธรรม มูลนิธิยุวสถิรคุณ. (2560). กระบวนการพัฒนา โรงเรียนคุณธรรมทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2562). แผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์.

สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2563). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2562, จาก http://plan.bru.ac.th/wp-content/uploads/2018/แผนพัฒนา-12-pdf

สุทธิพงษ์ ก้องเวหา. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนกระบากวิทยาคาร. มหาสารคาม: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 3.

หทัยทิพย์ ฉางแก้ว. (2560). การประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

Fullan, M. (2003). The moral imperative of school leadership. Thousand Oaks, CA: Corwin press.

Goleman, Daniel. (2007). Moral intelligence. Pennsylvania: Wharton School Publishing.

John, W. B. (1970). Research in Education. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice-Hall Inc.

Robert, V. K. and Daryle W.M. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.