ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โดยเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาใต้ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ 2) ศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทีมีต่อการจัดการเรียนวิชาภูมิศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับเครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิจัย ได้แก่1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ รวม 15 คาบเรียน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และ3) แบบวัดเจตคติที่มีผลต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ โดยนำไปใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 44 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ที่ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า ดังนี้ 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เจตคติต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้งมีลักษณะความสัมพันธ์กันเป็นวงจรการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยระยะเวลาหนึ่งจึงส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจทางภูมิศาสตร์ได้จนนำไปสู่การเกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภูมิศาสตร์มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กรมวิชาการ.(2542). กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ.
กิตติคุณ รุ่งเรือง. (2556). การจัดการเรียนการสอนภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ทิศนา แขมมณี. (2542). 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมประสงค์ น่วมบุญลือ. (2558). สังคมศึกษา ความหมาย รากศัพท์ ตัวชี้วัด. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิริวรรณ ศรีพหล. (2552). การจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรรถพล อนันตวรสกุล. (2561). มโนทัศน์ทางภูมิศาสตร์ในการสอนภูมิศาสตร์. เอกสาร ประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Geo-Literacy สำหรับครูสังคม จัดโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ อาคารวิจัยและการศึกษาต่อเนื่อง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ชั้น 2, 21 เมษายน 2561.
Anderson, L.W., & Krathwohl, D.R. (2001). A Taxonomy for learning, teaching, and assessing:
A revision of Bloom’s Taxonomy of education objectives. New York: Addison Wesley Longman.
Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of education objectives. Cognitive domain, New York: McKay.
Piaget, J. and B. Inhelder. (1964). The Growth of Logic: From Childhood to Adolescence. New York: Basic Books.
Thorndike, E.L. (1955). Measurement and Evaluation in Psychology and Education. New York: 705 John Wiley and Sons.