ความรู้ทั่วไปต่อพืชกระท่อม และทัศนะต่อกรณีการถอดพืชกระท่อม ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

Main Article Content

กิตติศักดิ์ เหมือนดาว
มูฮำหมัด นิยมเดชา

บทคัดย่อ

ความรู้ทั่วไปต่อพืชกระท่อม และทัศนะต่อกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทั่วไปของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อพืชกระท่อม และ เพื่อศึกษาทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่ อำเภอเมืองนครปฐม หรือเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง หรือเคยเกี่ยวข้องกับการทำคดียาเสพติด จำนวน 150 คน ใช้แบบสอบถาม ชนิดปลายปิด และชนิดปลายเปิด กำหนดมาตรวัดแบบ Likert Scale


ผลการวิจัยพบว่า สถานภาพ การศึกษา ชั้นยศ และการอบรม ทั้งสี่ปัจจัยส่งผลต่อความรู้ทั่วไปของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อพืชกระท่อม (p < 0.05) กลุ่มเพศหญิง กลุ่มอายุ 20-30 ปี กลุ่มปริญญาตรี-โท กลุ่มที่ยังไม่สมรส และกลุ่มอายุราชการอายุมากกว่า 7 ปี เป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยจำนวนข้อที่ตอบถูกมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ  ปัจจัยภูมิหลังของการศึกษาทั้งหมด มีผลต่อทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 (p < 0.05) ผลของทัศนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ในด้านต่าง ๆ มีผลดังนี้ ด้านความรู้สึก (4.06±0.99, มาก) ด้านการรับรู้หรือการเชื่อ (3.76±1.02, มาก) ด้านความพร้อมที่จะกระทำ(3.78±0.86, มาก)ด้านความคิดเห็นต่อประโยชน์ของการใช้พืชกระท่อม (3.61±0.93, มาก) ด้านความคิดเห็นต่อโทษของการใช้พืชกระท่อม (3.29±1.01, ปานกลาง) ด้านความคิดเห็นต่อ ร่าง พ.ร.บ.พืชกระท่อม พ.ศ. …(3.72±0.99, มาก)


ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อกรณีการถอดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการปลดกระท่อมออกจากกฎหมายยาเสพติดประเภท 5 ควรควบคุมการขายให้ได้มาตรฐานเพื่อไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เปิดให้ขายได้โดยเสรี และควรมีการส่งเสริม ให้จัดการบรรยายให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ความเข้าใจ

Article Details

How to Cite
เหมือนดาว ก., & นิยมเดชา ม. (2023). ความรู้ทั่วไปต่อพืชกระท่อม และทัศนะต่อกรณีการถอดพืชกระท่อม ออกจากบัญชียาเสพติดประเภทที่ 5 ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1238–1252. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.102
บท
บทความวิจัย

References

เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.(2562).รายงานผลการสำรวจครัวเรือนเพื่อคาดประมาณจำนวนประชากร ผู้ใช้สารเสพติดของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2562. เครือข่ายองค์กรวิชาการสารเสพติด สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์.

สยามไภษัชยพฤกษ์. (2538). ภูมิปัญญาของชาติ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สาวิตรี อัษณางค์กรชัย และ อาภา ศิริวงศ์ ณ อยุธยา. (2548). พืชกระท่อมในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บางกอกบล็อก.

สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม. (2556). รวมกฎหมายยาเสพติดพร้อมด้วยกฎกระทรวง ระเบียบข้อ บังคับที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดบางกอกบล็อก.

อัจฉรา นาคไร่ขิง. (2545). ทัศนะของพนักงานสอบสวนที่มีต่อการปฏิบัติงานของผู้ตรวจพิสูจน์ยาเสพติด กองพิสูจน์หลักฐาน: ศึกษากรณีพนักงานสอบสวนในกองบังคับการตำรวจนครบาล 1-9 (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรพินท์ นิรนาทกุล. (2557). การกำหนดความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศึกษานโยบายทางอาญา กรณีการเสพ และการครอบครองกัญชา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

Dalton, F. E. (1968). Personal management:Theory and Practice.New York: The Macmillan Company.

Krech, D. & Cruthfield, R.S. (1980). Theory and Problem of Social Psychology. New York: Mc Graw-Hill.

Murphy, G., & Murphy, L. B. (1937). Experimental Social Psychology. New York: Harper and Row.