สถาปัตยกรรมพลัดถิ่น กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นในบริเวณพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

Main Article Content

ธีร ธนะมั่น
ลิขิต กิตติศักดินันท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงที่มาและรูปแบบของการสร้างประสบการณ์ความจริงแท้ในการท่องเที่ยวและมีผลต่อรูปแบบการพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยวในบริบทของสังคมไทยร่วมสมัย และ 2) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์และรูปแบบการพัฒนาของสถาปัตยกรรมพลัดถิ่นย้ายมาตั้งในสภาพบริบททางสังคมและวัฒนธรรมต่างถิ่น โดยรูปแบบการวิจัยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพผ่านการศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ร่วมกับการสังเกต ในบริเวณสถานที่จริงที่บริเวณโดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ฝั่งอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาทางประวัติศาสตร์และรูปแบบของการพัฒนาสถาปัตยกรรมเพื่อการท่องเที่ยวในพื้นที่ นำไปสู่การวิเคราะห์ถึงที่มาและรูปแบบการพัฒนาของสถาปัตยกรรมพลัดถิ่นในพื้นที่ โดยผลการวิจัยพบว่า
1. การแสวงหาประสบการณ์ความจริงแท้ในการท่องเที่ยวนั้นเป็นเหตุผลสำคัญที่ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวในประเทศการใช้สถาปัตยกรรมพลัดถิ่นจากวัฒนธรรมจากโลกตะวันตก จึงเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสร้างความจริงแท้ในการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองกับความต้องการของนักท่องเที่ยว
2. รูปแบบของสถาปัตยกรรมพลัดถิ่นที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาการท่องเที่ยวและรูปแบบของสถาปัตยกรรมที่รองรับการท่องเที่ยวมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การตั้งอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ขึ้นมาตั้งแต่แรก
3. การพัฒนาของสถาปัตยกรรมพลัดถิ่นมีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพบริบททางสังคม เศรษฐกิจ และ วัฒนธรรม ในบริเวณพื้นที่โดยรอบจนมาถึงปัจจุบัน
จากจำนวนของนักท่องเที่ยวและสถาปัตยกรรมพลัดถิ่นในการท่องท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำความเข้าใจในที่มาของการใช้สถาปัตยกรรมพลัดถิ่นเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่กรณีศึกษานี้จึงเป็นประโยชน์ในการพัฒนารูปแบบของสถาปัตยกรรมพลัดถิ่นสำหรับการท่องเที่ยวต่อไปในอนาคต

Article Details

How to Cite
ธนะมั่น ธ., & กิตติศักดินันท์ ล. (2023). สถาปัตยกรรมพลัดถิ่น กับการส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่นในบริเวณพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 840–858. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.56
บท
บทความวิจัย

References

ก้องสกล กวินรวีกุล. (2561). มานุษวิทยาการท่องเที่ยว: กรอบแนวคิดและคุณูปการทางทฤษฏี. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์,36(2), 1-26.

เกรียงไกร วัฒนาสวัสดิ์. (2556). ความคิดเห็นและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยว ต่อความจริงแท้ในการ จัดการ การท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต: กรณีศึกษาชุมชนตลาดสามชุกร้อยปี จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เกียรติกร พันวา. (2557). การศึกษารูปแบบวัฒนธรรมกาแฟ ในเขตเทศบาลนครขอนแก่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว รูปแบบเมือง (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฏฐนันท์ คำทอง, เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล (2561). แนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเชาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน, วารสารสิ่งแวดล้อม, 22(1), 16-24.

ประพล จิตคติ. (2561). การท่องเที่ยวเพื่อการถ่ายภาพ : มิติใหม่ของการท่องเที่ยว ตามความสนใจ พิเศษในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/Article/2018-08-062/

ปริณา ลาปะ. (2558). พฤติกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมาของนักท่องเที่ยวชาวไทย วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 4(1), 30-45.

วิรัตน์ แสงทองคำ. (2552). ภาพสะท้อนเขาใหญ่. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565,จาก https://viratts.com/khoayai1/

Antónia Correia, A., Valle, P. and Moço, C. (2005). Why People Travel to Exotic Places. International Journal of Culture Tourism and Hospitality Research,1(1), 45-61.

Atasoy, F. (2021). Authenticity in Tourism. Academic Turkish World Studies: Tourism, Culture, Art and Architecture.

Golomb, J. (1995). In Search of Authenticity: Existentialism From Kierkegaard to Camus. London: Routledge.

MacCannell, D. (1973). Staged Authenticity: Arrangements of Social Space in Tourist Settings. American Journal of Sociology, 79(3), 589-603.

Naumov, N. (2016). Cultural Tourism. European Journal of Tourism Hospitality and Recreation, 7(1), 72-73.

Wang, N. (1999). Rethinking Authenticity in Tourism Experience. Zhongshan University, China. Annals of Tourism Research, 26(2), 349-370.

Masan, R. (2019). HVS Market Pulse: Khao Yai, Thailand. Retrieved April 5, 2022, from https://www.hvs.com/article/8559-hvs-market-pulse-khao-yai-thailand

Engels-Schwarzpaul, A.C., & Wikitera, K.A. (2019). Iconic architecture in tourism: (how) does it work?. Tourism Fictions, Simulacra and Virtualities. 224-246. London: Routledge.