ความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้จากการก่อสร้าง ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างที่มีพื้นที่ดำเนินการขนาดใหญ่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างในปัจจุบัน จำเป็นต้องศึกษาและวางแผนการใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดการสูญเสียทั้งในเชิงเศรษฐกิจและผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้ของบุคคลากรโครงการก่อสร้างที่มีพื้นที่ดำเนินการขนาดใหญ่
และ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้จากโครงการก่อสร้าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นบุคลากรที่ทำงานอยู่ในโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 430 คน ทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างที่ทำการตอบแบบสอบถาม จำนวน 112 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวัดความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับวัสดุเหลือใช้จากโครงการก่อสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับความรู้ของบุคคลากรผู้ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับ ดี (ร้อยละ 71.34)
- ระดับความตระหนักของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในระดับ มาก (= 4.47, S.D. = 0.59) บุคลากรที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับความรู้และความตระหนักไม่แตกต่างกัน
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรตามมาตรฐานการก่อสร้างอย่างยั่งยืน เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการก่อสร้างที่มีพื้นที่ใช้สอยขนาดใหญ่ เกิดการสูญเสียทรัพยากรให้น้อยที่สุดและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณิรดา พิชยะปัญญา. (2561). การศึกษาการจัดการขยะจากเศษวัสดุก่อสร้างในโครงการ กรณีศึกษา Miyaki Seki Factory. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,1(3), 36.
ตรีทิพย์ ปทุมมณี และ ปิยะนุช เวทย์วิวรณ์. (2561). ทัศนคติและพฤติกรรมการจัดการขยะก่อสร้างของผู้รับเหมาในประเทศไทย. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 56, หน้า 271-278. สาขาวิทยาศาสตร์และพันธุวิศวกรรม, สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์, สาขาอุตสาหกรรมเกษตร, สาขาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
เทพฤทธิ์ มนต์แก้ว และจงรักษ์ ผลประเสริฐ. (2563). การจัดการเศษวัสดุในโครงการก่อสร้างอาคารสูง: กรณีศึกษาโครงการแอสค็อตแอมบัสซี่สาทร. เอกสารการประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 วันที่ 25-17 กรกฎาคม 2563, ชลบุรี.
วาสนา อุทัยแสง. (2559). การตระหนักรับรู้การบริหารความเสี่ยงและการนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติของบุคลากร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วินัย วีระวัฒนานนท์. (2562). หลักการสอนสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก: การพิมพ์ดอทคอม.
สุรศักดิ์ ปริญญารัตนชัย. (2544). แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการ. สืบค้น 1 มิถุนายน 2556, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Rec_Man/Teerin_P.pdf
อักษร สวัสดี. (2542). ความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย: กรณีศึกษาในเขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.