ผลการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง “PLAY AT HOME” เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง “PLAY AT HOME” เพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุระหว่าง 4 -5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสุเหร่าใหม่ สำนักงานเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ 1.ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง “PLAY AT HOME” 2.แบบทดสอบวัดพฤติกรรมการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัย 3.แบบประเมินพฤติกรรมการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัย 4.แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองเกี่ยวกับการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัย 5.แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง “PLAY AT HOME” มีคะแนนเฉลี่ยการกำกับตนเองในเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม ก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.2 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.96 และหลังการใช้ชุดกิจกรรมการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง“PLAY AT HOME” มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 30.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.61 โดยเด็กปฐมวัยมีการพฤติกรรมการกำกับตนเองเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำกับพฤติกรรมตนเอง ด้านการกำกับความคิด และด้านการกำกับอารมณ์ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชลาธิป สมาหิโต. (2560). เอกสารคำสอนรายวิชาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย (development and learning in young children). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประพันธ์ เดชสวัสดิ์. (2552). การศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนโรงเรียนบ้านสถานอำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (การศึกษาอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย.
พิกุล เกิดปลั่ง. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รัชดาภรณ์ อินทะนิน. (2544). การศึกษาแนวโน้มและอัตราการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสังคมของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม (ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศุภฎี ชิกว้าง. (2552). การทดลองใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี. (วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน.
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2557).การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สิริพร ลิ้นจี่ และ ศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2563). บทบาทของครูในการส่งเสริมพฤติกรรมการกำกับตนเองของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา,16(2), OJED1602022.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action : A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.
Blair, C., & Diamond, A. (2008). Biological processes in prevention and intervention:The promotion ofself-regulation as a means of preventing school failure. Development and Psychopathology, 20(03), 899-911.
Bodrova, E., & Leong, D. J. (2008). Developing self-Regulation in kindergarten can we keep all the crickets in the basket?. Young children, 63(2), 56-58.
Dewey, J. (1959). Experience and education. New York: Macmillan Publishing Company.
Global,A. (2020).Art and Child Development. Retrieved November 18, 2021, from https://th.globalart.world/ศิลปะกับพัฒนาการเด็ก/
Hautakangas, M. (2022). Children developing self-regulation skills in a Kids’ Skills intervention programme in Finnish Early Childhood Education and Care. Early Child Development and Care, 192, 1626-1642.
National Parent Education Network. (2022). NPEN Core Principles. Retrieved November 27, 2021, from https://npen.org/about-npen/core-principles
Unicef. (2019). Unicef Early Childhood Development Kit for Emergencies. Retrieved October 15, 2021, from https://www.unicef.org/evaldatabase/files/UNICEF_ECD_Kit_Synthesis.pdf