การใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผล เชิงสถิติ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

ภาคภูมิ ทิพย์วารี
วันดี เกษมสุขพิพัฒน์
ต้องตา สมใจเพ็ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์
ในชีวิตจริง ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ และ 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ หลังจากจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยสถานการณ์ในชีวิตจริง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 34 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบฝึกทักษะ และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (One Sample t – test)ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติต้องให้ความสำคัญกับการเลือกสถานการณ์ การใช้คำถาม และการจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ สถานการณ์ที่ใช้ต้องเป็นสถานการณ์ที่ใกล้ตัวนักเรียน หรือเป็นสถานการณ์ที่นักเรียนสนใจ นอกจากนี้ครูผู้สอนควรจัดบรรยากาศในการเรียนรู้ที่เปิดกว้างให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นและอภิปรายในชั้นเรียน การใช้คำถามที่หลากหลายเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และกระตุ้นการคิด วิเคราะห์ และให้เหตุผล ซึ่งหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญที่ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 76.27 ของคะแนนเต็ม

Article Details

How to Cite
ทิพย์วารี ภ., เกษมสุขพิพัฒน์ ว., & สมใจเพ็ง ต. (2023). การใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผล เชิงสถิติ เรื่อง ค่ากลางของข้อมูล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 809–824. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.54
บท
บทความวิจัย

References

จรรยา ภูอุดม. (2545). แนวทางการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลที่สอดคล้องกับสาระที่ 6ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์. วารสารคณิตศาสตร์, 46(524-526), 23-24.

จิราวรรณ ใจเรือน และ พรทิพย์ โรจน์ศิรพิศาล. (2560). การใช้คำถามเพื่อส่งเสริมทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. The 22nd Annual Meeting Mathematics (AMM 2017), EDM 11, 1-12.

ธัญพิมล จันทร์นุ่ม. (2558). ผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการพัฒนาความคิดของเด็กที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภัสวรรณ หาญเกียรติกล้า. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการใช้สถานการณ์ในชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง การวัดค่ากลางของข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1),1-12.

พิลาลักษณ์ ทองทิพย์. (2550). การศึกษาการให้เหตุผลทางสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัญญา ม่วงวัดท่า. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบบันได 5 ขั้น (QSCCS) เรื่อง สถิติ ที่ส่งเสริมทักษะการให้เหตุผลเชิงสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2556). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงสถิติและการเชื่อมโยงคณิตไปสู่ชีวิตจริงโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(2), 15-33.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). คู่มือวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Garfield, J. & Ben, Z. (2009). Helping students develop statistical reasoning: Implementing a statistical reasoning learning environment. Teaching Statistics,31(3), 72-79.

Garfield, J. & Gal, I. (1999). Teaching and assessing statistical reasoning. In Developing mathematical reasoning in grades K-12, 207-219. Reston, VA: National Council Teachers of Mathematics.

Zulkardi, Z. (2019). How to Design Mathematics Lesson based on the Realistic Approach. Retrieved April 9, 2022, from http://www.reocities.com/ratuilma/rme.html