การจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต

Main Article Content

มณีเนตร พวงมณี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับทราบและความเข้าใจข้อกฎหมายที่กำหนด และพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักศึกษาสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบบูรณาการ ก่อนและหลังเรียนวิชาข้อกฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์จำนวน 53 คน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาข้อกฎหมายและจริยธรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคเรียนที่ 1/2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด ได้แก่ 1) คลิปวิดีโอ 2) แบบประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียน 3) แบบสอบถามสำรวจพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)และ t-test (Hypothesis test statistic)
ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษารับทราบข้อมูลการประกาศใช้กฎหมายที่กำหนด มากกว่าร้อยละ 53 โดยมีความเข้าใจในระดับปานกลางถึงระดับมาก พฤติกรรมที่นักศึกษามีแนวโน้มกระทำมากที่สุดคือ การตรวจสอบและสืบค้นที่มาของแหล่งข้อมูลข่าวสารที่ได้จากอินเทอร์เน็ต ตัดสินใจทำธุรกรรมต่าง ๆ ในรูปแบบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากความสะดวก ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายรวมทั้งค่าธรรมเนียมแม้ว่าอาจจะมีความเสี่ยง ในขณะที่มีแนวโน้มใช้ซอฟต์แวร์หรือสินค้าและผลิตภัณฑ์ละเมิดลิขสิทธิ์น้อย 2) เมื่อเปรียบเทียบการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบบูรณาการ ผลประเมินก่อนและหลังทำกิจกรรมคะแนนมีค่าเฉลี่ย 3.79 และ 6.4 ตามลำดับ ผลสัมฤทธิ์การเรียนหลังจากร่วมกิจกรรมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการวิจัยสามารถนำองค์ความรู้ ปรับเป็นรูปแบบกิจกรรมสำรวจพฤติกรรมจากประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย ประเมินผลสัมฤทธิ์ด้วยคำถามในประเด็นที่ต้องการวัดผลก่อน (pre-test) และหลัง (post-test) ทำกิจกรรม ผลประเมินที่ได้จากการสำรวจตนเองสามารถใช้เป็นแนวทางวางแผนปรับตัวในประเด็นปัญหาหรือเป้าหมายที่กำหนด

Article Details

How to Cite
พวงมณี ม. (2023). การจัดการเรียนรู้ต่อการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1186–1203. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.99
บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก วงศ์สวัสดิ์ และวัลลภ รัฐฉัตรานนทร์. (2563). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สำนักงานใหญ่. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 53-67.

กิตติพศ ทูปิยะ. (2560). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและสารสนเทศของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

กันตาภา สุทธิอาจ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และไสว ฟักขาว. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเน้นประสบการณ์ตามสภาพจริง เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนด้วยการนำตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 1-15.

เกียรติพร สินพิบูลย์. (2560). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานกับมัลติมีเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จารุณี กัมพลาวลี. (18 กุมภาพันธ์ 2565). สรุปสถิติภัยคุกคามปี 2564 จากศูนย์ปฏิบัติการ CSOC ของ NT cyfence. ศูนย์ปฏิบัติการ Cyber Security Operation Center (CSOC). สืบค้นเมื่อ22 มีนาคม 2565, จาก https://www.cyfence.com/article/ntcyfence-csoc-summary-2021/

จิตรลดา เพลิดพริ้ง, อังสนา ผ่อนสุข, มงคล ณ ลำพูน, ไพฑูรย์ จันทร์เรือง, จงกลนี ลิ้มประภัสสร, กัลยานี นุ้ยฉิม, ธีระยุทธ เพลิดพริ้ง. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และความเข้าใจต่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 5(2), 378-385.

ชนัญฑิดา มูลชีพ และกัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์. (2564). การศึกษา ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติตามกฎหมายพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ของบุคลากรส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิจยวิชาการ, 4(4), 39-52.

ดาวรถา วีระพันธ์. (2560). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(1), 44-54.

ทวีศักดิ์ กออนันตกูล. (2544). ความก้าวหน้าของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก http://www.nectec.or.th/users/htk/milestones-th.html

ปริยวิศว์ ชูเชิด และ เรวดี ศักดิ์ดุลยธรรม. (2560). การรับรู้และความเข้าใจต่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 ของประชาชนในจังหวัดนนทบุรีและกรุงเทพมหานคร (รายงานผลการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

รังสินี พูลเพิ่ม, จันทนา โปรยเงิน, แสงจันทร์ สุนันต๊ะ และนนทิกา พรหมเป็ง. (2561). ประสิทธิผลการเรียนการสอนโดยใช้คำถามเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 126-136.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2558). การโค้ชเพื่อการรู้คิด (Cognitive Coaching). กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์.

วิภาวดี อวยพร. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย. (2565). สถิติภัยคุกคาม ประจำปี พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/Our-Service/thaicert/stat.aspx

สำนักแผนงานและงบประมาณ. (28 ตุลาคม 2562). สถิติความผิดต่อ พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก https://oppb.coj.go.th/th/content/category/detail/id/8/cid/2101/iid/166875

สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/ newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). รายงานผลสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2564. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก https://www.etda.or.th/th/pr-news/ETDA-released-IUB-2021.aspx

อารีย์ ศรีสุกอง. (2562). ผลการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความน่าจะเป็น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกพันธ์ พัฒนาวิจิตร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล กรณีศึกษาการลงชื่อเข้าใช้ด้วยรหัสผู้ใช้เฟซบุ๊ก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bloom, B. S., and Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives: The classification of educational goals, by a committee of college and university examiners. Handbook I: Cognitive domain. New York: Longmans, Green.

Mumford, A. (1992). The manual of learning styles. Berkshire: Peter Honey Publications.

Kolb, D. A. (1984). Experiential Learning: Experience as the source of learning and development Englewood Cliffs. New York: Prentice-Hall.

Wilson, T.D. (1999). Models in Information Behavior Research. Journal of Documentation, 55, 249-270.