บทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง ในการผลักดันวัฒธรรมชุมชนท้องถิ่นไทพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ช่วง พ.ศ. 2555-2559

Main Article Content

มานพ มนตรีพิทักษ์
ธโสธร ตู้ทองคำ
ยุทธพร อิสรชัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา บทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง
ในการผลักดันวัฒธรรมชุมชนท้องถิ่นไทพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ช่วง
พ.ศ. 2555-2559  วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร บทความงานวิจัยและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้เป็นตามวัตถุประสงค์ สรุปอธิบายพรรณนาเชิงวิเคราะห์ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key Informants) ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) กำหนดคุณสมบัติของกลุ่มแบบโควตา (Quota Sampling) ในการสัมภาษณ์ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) นักการเมือง (2)เจ้าหน้าที่ของรัฐ
(3) นักธุรกิจ (4)กลุ่มอาชีพในชุมชนเขตเทศบาลตำบลบ้านเชียง (5) สื่อมวลชนนักวิชาการ


ผลการวิจัยพบว่าบทบาททางเมืองของนายกเทศมนตรี ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบายจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นผ่านการจัดทำประชาคมร่วมกับชุมชน ด้านการบริหารจัดการจัดสรรทรัพยากรได้วางกลยุทธ์โครงการแผนงานที่เหมาะสมนำเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มีอย่างจำกัด ด้านการเชื่อมประสานในฐานะตัวแทนขององค์กรดำเนินการตามแผนพัฒนาแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาอาชีพจากการจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน

Article Details

How to Cite
มนตรีพิทักษ์ ม. ., ตู้ทองคำ ธ., & อิสรชัย ย. (2023). บทบาททางการเมืองของนายกเทศมนตรีตำบลบ้านเชียง ในการผลักดันวัฒธรรมชุมชนท้องถิ่นไทพวนบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ช่วง พ.ศ. 2555-2559. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1069–1082. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.91
บท
บทความวิจัย

References

ทวี สุรฤทธิกุล. (2555). แนวการศึกษาชุดวิชา การเมืองการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ หน่วยที่ 14 หน้าที่ 14-20. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชารัฐศาสตร์.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). ทฤษฏีและแนวคิด : การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น (ภาคแรก). กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์. (2561). ทิศทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 3(2), 183-196.

ธนิศร ยืนยง. (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(2), 119 - 135.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554ก). การเมืองท้องถิ่น: การเมืองของใคร โดยใคร และเพื่อใคร. (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โครงการวิทยาลัยการเมือง สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554ข). การกระจายอำนาจแนวคิดและประสบการณ์จากเอเชีย การกระจายอำนาจ. การปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรมกมล ทิพย์โปธา. (2555).บทบาทนายกเทศมนตรีในการสร้างความเข็มแข็งด้านเศรษฐกิจชุมชน ศึกษากรณี ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรเพ็ญ เจริญนฤมล. (2542). บทบาทผู้นำท้องถิ่นในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : ศึกษาเฉพาะกรณีอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

พิศาล มุกดารัศมี. (2557). บนเส้นทางความคิดทางการเมืองจากคำพยากรณ์มหาวิหารเดลฟีถึงห้องรมแก๊ส เอาชวิตซ์. นนทบุรี: โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา ฝ่ายตำรา สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาโนช สุวรรณสาร, กาญ ดำริสุ, และมุทุดา แก่นสุวรรณ. (2558). นักการเมืองถิ่นจังหวัดนครพนมกรุงเทพฯ. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

ยุทธพร อิสรชัย, และคณะ. (2549). บทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของสภาท้องถิ่นในการปกครองท้องถิ่น. สืบค้นคืนเมื่อ 15 มีนาคม 2559, จาก https:// kpi.ac.th/media/pdf/M7_113.pdf

วิศาล มหาวโร. (2556). สังคมวิทยาการเมืองการปกครอง (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.