ผลการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชัยวัฒน์ อันปัญญา
ญดา ธาดาณัฐภักดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล ของนักเรียนก่อนและหลังการฝึก เทียบเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาลบูรพาพิทยาคาร สังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ โดยการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ 8 แผน 2) แบบวัดทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 91.14/92.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. การเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 73.63 หลังเรียนผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 92.24 ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยทักษะปฏิบัติพื้นฐานกีฬาฟุตซอล หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
อันปัญญา ช., & ธาดาณัฐภักดิ์ ญ. (2023). ผลการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ ที่ส่งผลต่อทักษะพื้นฐานกีฬาฟุตซอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 719–730. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.48
บท
บทความวิจัย

References

กฤช บุญกล้า. (2558). แบบฝึกทักษะการฝึกกีฬาฟุตซอล. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.kroobannok.com/75474

ดัด นาคกระแสร์. (2551). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านไม้ตะเคียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565,จาก http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=70182&bcat_id=16

นวพล สังข์แก้ว. (2551). การพัฒนาโปรแกรมการฝึกกีฬาฟุตซอลสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสงขลาเขต 1. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565 , จาก http://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id= 14310&bcat_id=16

บุญรอด ชาติยานนท์. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ ในรายวิชาการปลูกพืชผักสวนครัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 9(3), 205-218.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์ และคณะ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

ประเดิมชัย เถาแก้ว. (2562). ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ร่วมกับจินตภาพที่มีผลต่อความสามารถ ในการโยนลูกเปตองของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประพันธ์ เปรมศรี และ ไมตรี กุลบุตร. (2548). ประวัติและการตัดสินกีฬาฟุตซอล. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ประยง กําประโคน. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในชั้นเรียนกับโปรแกรมการจัดการแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ไพโรจน์ บัวสาย. (2551). รายงานการพัฒนาทักษะกีฬาฟุตซอลโดยใช้สื่อประกอบการจัด กิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนบ้านอังกัญเสกแอ (ประดิษฐ์ราษฎร์สามัคคี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 1. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565, จาก http://www.angkun.net/index.php?

เย็นฤดี พึ่งดี, ลัดดาวัลย์ แก้วใส และ รังสรรย์ ไพฑูรย์. (2562). ผลการใช้เอกสารประกอบการเรียนการสอน เรื่องทักษะฟุตซอลขั้นพื้นฐาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ศึกษาครั้งที่ 2 (Proceedings).

ราชิต ศักดิ์วิเศษ, ประยูร บุญใช้ และ ภูมิพงศ์ จอมหงษ์พิพัฒน์. (2013). การพัฒนาชุดฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 3(2), 27-32.

วุฒิกษณ์ ก่อบุญ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะเพื่อส่งเสริมพื้นฐานการเล่นฟุตซอล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(3), 67-78.

สมปรารถนา ทองนาค. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการฝึกทักษะพื้นฐานกีฬาแฮนด์บอลโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนมัธยมท่าแคลง จังหวัดจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

สิทธิวรรณ บุญยะมาลิก. (2561). การพัฒนารูปแบบการสอนดนตรีโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาร่วมกับทฤษฎีของเดวีส์ เพื่อส่งเสริมทักษะปฏิบัติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น.วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 1(1), 13-23.

สุเทพ ผลภาค. (2550). การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาฟุตซอล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประตูชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565, จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/346747

อัมพร ชัยสวัสดิ์. (2553). ผลการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยใช้การเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ (4 MAT) เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อาณัติ อยู่นัด. (2562). รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติตามแนวคิดของเดวีส์ช่วยพัฒนาชุดกิจกรรมการฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=165686

อุษณีย์ ขวางนกขุ้ม. (2562). การพัฒนารูปแบบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะกีฬาฟุตซอล รายวิชาพลศึกษา(ฟุตซอล) กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565, จาก https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=172818

Bloom, B.S. (1961). Taxonomy of Education Objectives. New York: David Mckay.

Davies I.K. (1971). The Management of Learning. London: McGraw – Hill.