นวัตกรรมการบริหารจัดการงานบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ปรัชญา จำนงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริหารจัดการงานบริการหน่วยงานราชการกับประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม รูปแบบการวิจัยแบบใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ซึ่งใช้การรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูล ที่สำคัญ (Key-Informant) ที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของการศึกษา ซึ่งได้แก่ ได้แก่ ผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครปฐม จำนวน 23 คน


ผลการวิจัยพบว่า (1)นวัตกรรมภาครัฐ ประกอบด้วย นวัตกรรมบริการ นวัตกรรมการส่งมอบ บริการ นวัตกรรมการบริหาร/องค์การ นวัตกรรมทางความคิด นวัตกรรมเชิงนโยบาย และนวัตกรรมเชิงระบบเรียกรวมว่า ระบบราชการ 4.0 ซึ่งเป็นแนวคิดการปรับเปลี่ยนกระบวนการการ บริหารจัดการภาครัฐใหม่ ทั้งนี้ การสร้างนวัตกรรมภาครัฐนั้น จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนโดยความ ร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น ผู้บริหาร ข้าราชการ หรือบุคลากรภาครัฐ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในฐานะผู้ให้บริการ ตลอดจนประชาชนในฐานะผู้รับบริการ อย่างไรก็ตาม การสร้างนวัตกรรมภาครัฐยังคงประสบปัญหากับความเป็นระบบราชการที่เป็นระบบที่ไม่มีความยืดหยุ่น ไม่มีความคล่องตัว ยึดติดกับระเบียบ แบบแผน ทำให้เกิดความล่าช้าและไม่ตอบสนองกับความต้องการของประชาชน ซึ่งประเด็นปัญหาดังกล่าวยังเป็นความท้าทายที่องค์กรภาครัฐในบริบทของไทยจะต้องให้ความสำคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหา เพื่อการขับเคลื่อนนวัตกรรมภาครัฐให้มีประสิทธิภาพได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
จำนงค์ ป. (2023). นวัตกรรมการบริหารจัดการงานบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดนครปฐม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(4), 1402–1413. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.113
บท
บทความวิจัย

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2558). ประชาธิปไตยทางการคลังไทย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตต์ระวี เลขากุล. (2561). ธรรมาภิบาลวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลองค์การของเทศบาลในเขตภาคใต้ของประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุลชัยรุ่งเรือง. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 76-91.

นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารเทศบาลตำบลในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(10), 2641-5658.

นันธิดา จันทร์ศิริ. (2558). ธรรมาภิบาลระดับท้องถิ่น: มุมมองด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการท้องถิ่น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 7(2), 95-117.