ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ สำหรับนักศึกษาคณะสหเวชศาสตร์

Main Article Content

กัมปนาท คำสุข

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาจากการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์แบบผสมผสาน (Blended Learning) กับรูปแบบชั้นเรียน 2) เพื่อศึกษาผลการประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา ในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ (Human Physiology) กลุ่มตัวอย่าง จำนวนทั้งหมด 63 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 จำนวน 36 คน ได้รับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบชั้นเรียน และ กลุ่มที่ 2 จำนวน 27 คน ได้รับการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์แบบผสมผสาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และใช้วิธีการทางสถิติ t - test แบบ Dependent Sample (Paired t - test) ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์แบบผสมผสานมีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่สูงกว่ากลุ่มนักศึกษาที่เรียนในรูปแบบชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ผลการประเมินรายวิชาโดยนักศึกษาพบว่าในการเรียนการเรียนในรูปออนไลน์แบบผสมผสานมีค่าระดับความพึงพอใจที่สูงกว่าการเรียนในรูปแบบชั้นเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นจากผลการวิจัยพบว่ากระบวนการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์แบบผสมผสานมีความเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์และสถานการณ์ปัจจุบัน องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จึงเป็นประโยชน์ ในการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
คำสุข ก. (2023). ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานในรายวิชาสรีรวิทยาของมนุษย์ สำหรับนักศึกษาคณะสหเวชศาสตร์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 376–386. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.25
บท
บทความวิจัย

References

ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2544). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ของ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 4(1), 652-666.

พลอยณัชชา เดชะเศรษฐ์ศิริ. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในรายวิชาภาวะผู้นำ และการจัดการ สมัยใหม่โดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 22(4), 114-123.

วัลลภา วาสนาสมปอง, ดุษฎี อินทรประเสริฐ และกมลมาลย์ วิรัฐเศรษฐสิน. (2020). ผลของรูปแบบการเรียนรู้แบบนำ ความสุขสู่ผู้เรียนด้วยเทคนิค C2G ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยตามแนวคิดของบลูมในรายวิชา กายวิภาคศาสตร์ และสรีรวิทยา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 44-62.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษ ที่ 21. Walailak Journal of Learning Innovations, 1(2), 3-14.

ศศินันท์ ศิริธาดากุลพัฒน์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของครูในอนาคตที่มีต่อการศึกษาแบบเรียนรวม. วารสารวิจัยและพัฒนาการศึกษาพิเศษ, 17(2), 93-106.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2542). วิถีทัศน์เพื่อพัฒนาอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. รายงานการสัมมนาทางวิชาการการอุดมศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21.

Bonk, C. J. & Graham, C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global Perspectives, local designs. San Francisco, CA: Pfeiffer Publishing.

Entezari, M. & Javdan, M. (2016). Active Learning and Flipped Classroom, Hand in Hand Approach to Improve Students Learning in Human Anatomy and Physiology. International Journal of Higher Education, 5(4), 222-231.

Shang, F., & Liu, C. Y. (2018). Blended learning in medical physiology improves nursing students' study efficiency. Advances in physiology education, 42(4), 711–717.

Wayo, W., Charoennukul, A., Kankaynat, C. & Konyai, J. (2020). Online Learning Under the COVID-19 Epidemic: Concepts and applications of teaching and learning management. Regional Health Promotion Center, 9, 285-298.