กระบวนการการขอสัญชาติสำหรับแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาร์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
แรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาร์เข้ามาในจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อการจ้างงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนส่งเสริมและพัฒนาแรงงานที่เหมาะสมท่ามกลางการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการขอสัญชาติสำหรับแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาร์ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการขอหรือต่ออายุใบอนุญาตทำงานสำหรับแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาร์ โดยการทำบันทึกข้อตกลงและกระบวนการแจ้งความจำเป็นสำหรับแรงงานข้ามชาติสัญชาติเมียนมาร์ในรูปของโควต้า รวมถึงสัญญาจ้างงาน รายละเอียดวิธีการนำแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์มาร่วมงานกับนายจ้าง
และจัดทำการตรวจพิสูจน์สัญชาติสำหรับแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมาร์ รวมถึงการดำเนินงานของศูนย์บริหารงานทะเบียนจังหวัดนครศรีธรรมราชและการดำเนินงานด้านการดูแลสุขภาพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนครศรีธรรมราช มีองค์ความรู้ใหม่คือ “A-M-C-N-O-H” ประกอบด้วย (A) ขอรับใบอนุญาตทำงาน, (M) บันทึกข้อตกลง, (C) ข้อสัญญามาทำงาน, (N) พิสูจน์สัญชาติ, (O) ศูนย์บริหารการทะเบียน และ (H) ตรวจสุขภาพและประกันสังคม ทั้งนี้เพื่อความเป็นระบบและเชื่อมโยงกับการพัฒนา
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กีรติ เชาว์ตฤษณาวงษ์. (2556). วิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของแรงงานต่างด้าวในสังคมไทยเขตเทศบาลตำบลอ้อมใหญ่ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
งานควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). คู่มือแนวทางปฏิบัติสำหรับนายจ้างลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/nakhonsithammarat_th/9d1aa580730b1105a50d1b7505400f2d.pdf.
จำรัส อึ้งศรีวงษ์ และคณะ. (2557). การจัดการแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานต่างด้าว สัญชาติพม่า ในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4(3), 33-42.
จิรภา ศักดิ์กิตติมาลัย และจงกลพรรณ ศรีคำ. (2559). กระบวนการสร้างสุขของแรงงานพม่าในจังหวัดเชียงราย. วารสารบัญชีปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(2), 25-42.
ฉัตรธีรพล แทนสง่า. (2562). บทบาทภาครัฐในการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ประมงพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 9(3), 150-162.
ฐาณิดาภัทฐ์ แสงทอง และคณะ. (2565). ความต้องการและแนวทางการจัดสวัสดิการเพื่อรองรับการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนบ้านบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1), 46-60.
เดโช แขน้ำแก้ว, 2565) แรงงานพม่า : คุณภาพชีวิตและการสร้างความหมายใหม่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 10(1), 72-82.
พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก (ลักษณ์พลวงค์), สุรพล สุยะพรหม และประณต นันทิยะกุล. (2564). การบูรณาการแนวทางการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวที่มีผลกระทบต่อสังคมไทย จากกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(3), 573-587.
พิทักษ์ ไปเร็ว. (2556). วาทกรรมการสร้างความเป็นอื่นของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทยฐานะพลเมืองของโลก. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 6(3), 617-636.
ไพรินทร์ มากเจริญ. (2561). สถานการณ์แรงงานข้ามชาติ: แรงงานพม่า ปัญหา การอยู่ร่วมกันในชุมชนในจังหวัดนครปฐม. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 6(1), 63-94.
เรณู เหมือนจันทร์เชย. (2562). การเรียนรู้กับการบรรลุผลการทำงานของชาวเมียนมาและชาวไทยในบริษัทไทยที่ไปลงทุนในเมียนมา. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 12(5), 811-830.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2559). การจัดการแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมาย 3 สัญชาติของไทย:การสำรวจทางกฎหมาย นโยบาย และทางเลือก. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 7(1), 49-74.
สมทรง นุ่มนวล และคณะ. (2564). พื้นที่วัฒนธรรมของแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 13(2), 20-31.
สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2564). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดนครศรีธรรมราช ปี 2563 : มกราคม – ธันวาคม 2563. นครศรีธรรมราช: สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครศรีธรรมราช.
สุรพงษ์ รุ่งวารินทร์. (2560). การจัดการแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่าหลบหนีเข้าเมือง ตามความคิดเห็นของนายจ้าง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2565, จาก https://so05.tci-thaijo.org/ index.php/ptujournal/search