การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดตามแนวสะเต็มศึกษา ความคงทนในการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ณัฐกฤตา บุญเมืองธนาภา
พาที เกศธนากร
กรัณย์พล วิวรรธมงคล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา
2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 3) ศึกษาทักษะการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาของนักเรียน และ 4) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมการศึกษา และการจัดการเรียนรู้แบบ
สืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทพมงคลรังษี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้อง ทั้งหมด 57 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการเลือก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ และแบบประเมินทักษะการคิดตามแนวสะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการพัฒนา และหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.08/86.33

  2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ที่จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมการศึกษา กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  3. ผลการศึกษาทักษะการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม
    การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมการศึกษา กับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และทักษะการคิดตามแนวสะเต็มศึกษาของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ผลการประเมินความคงทนในการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมการศึกษา กับความคงทนในการเรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้
2 สัปดาห์ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
บุญเมืองธนาภา ณ., เกศธนากร พ., & วิวรรธมงคล ก. (2023). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดตามแนวสะเต็มศึกษา ความคงทนในการเรียนรู้ โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา ร่วมกับการจัดการเรียนรู้เทคนิคเกมการศึกษา และการจัดการเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 731–746. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.49
บท
บทความวิจัย

References

จริยา กำลังมาก. (2558). การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิคการแบ่งกลุ่มแบบกลุ่มสัมฤทธิ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

จำรัส อินทลาภาพร และคณะ. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. Veridian E-Journal Silpakorn University, 8, 62-66.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2545). เอกสารการสอนชุดวิชาสื่อการสอนระดับประถมศึกษา หน่วยที่ 8-15.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูศรี วงศ์รัตนะ และองอาจ นัยพัฒน์. (2552). แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองและสถิติวิเคราะห์: แนวคิดพื้นฐาน และวิธีการ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2550). นวัตกรรมการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: เอส อาร์ พริ้นติ้ง.

ภาณุวัฒน์ เปรมปรี. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องระบบนิเวศน้ำจืดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนประเทียบวิทยาทาน จังหวัดสระบุรี (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มานะ อินทรสว่าง. (2556). รายงานการใช้นวัตกรรม ชุดทดลองสำหรับจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง ไฟฟ้ากระแสตรง. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.).

รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). เรียนรู้สภาวะโลกร้อนด้วยSTEM Education แบบบูรณาการ. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.), 41, 182.

ราศี ทองสวัสดิ์. (2553). แนวการจัดประสบการณ์ระกับปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคโนโลยีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรณภา สายมาตย์. (2560). การปฏิบัติการพัฒนาการเรียนรู้แบบเชิงรุก เพื่อพัฒนาความคงทนในการเรียนรู้ เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาจะหลวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วันวิสา กองเสน. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และเจตคติต่อการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิคการใช้ผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2556). ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพแนวทางสู่การเรียนการสอนที่มีประสิทธิผล. กรุงเทพฯ: อินเตอร์เอ็ดดูเคชั่นซัพพลายส์.