ตัวแบบสมการโครงสร้างของปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจใช้ระบบการจัดการ ชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีก ร้านค้าทั่วไปในจังหวัดเมืองรองของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลการกำกับของความสมัครใจที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างปทัสถานทางจิตใจกับตั้งใจใช้ระบบ และเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีกับความตั้งใจใช้ระบบการจัดการชำระเงินผ่านอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกร้านค้าทั่วไปในจังหวัดเมืองรองของไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณได้ศึกษาจากผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกร้านค้าทั่วไปในจังหวัดเมืองรองของไทยที่อยู่ในเขตภาคตะวันตกที่จดทะเบียนนิติบุคคลกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จำนวน 100 ตัวอย่าง การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ความแปรผัน และวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม Process ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ประกอบการธุรกิจขายปลีกร้านค้าทั่วไปในจังหวัดเมืองรองของไทย จำนวน 9 ท่าน
ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ความสมัครใจร่วมกับปทัสถานทางจิตใจมีผลทำให้เกิดความตั้งใจใช้ระบบเปลี่ยนแปลงไป โดยปทัสถานทางจิตใจมีผลกระทบต่อความตั้งใจใช้ระบบที่เพิ่มขึ้นตามระดับของความสมัครใจที่สูงขึ้น (SNIU) ส่วนความสมัครใจร่วมกับการยอมรับเทคโนโลยีมีผลทำให้เกิดความตั้งใจใช้ระบบเปลี่ยนแปลงไป โดยการยอมรับเทคโนโลยีมีผลกระทบต่อความตั้งใจใช้ระบบที่เพิ่มขึ้นตามระดับของความสมัครใจที่สูงขึ้น (TAIU) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกมีความสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณทั้งปัจจัยปทัสถานทางจิตใจ การยอมรับเทคโนโลยี ความสมัครใจ และสามารถนำไปสู่ความตั้งใจใช้ระบบได้อย่างต่อเนื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กาณชาญ รังสีวรรธนะ, พสิษฐ์ ฐิติธนารัศมิ์, ณรงค์ ผลดก และชาญวิชย์ อริยาวรนันต์. (2564). การสื่อสารการท่องเที่ยวเมืองรองจังหวัดราชบุรี เพื่อการรับรู้ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 907-922.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). บทวิเคราะห์ธุรกิจ: ธุรกิจขายปลีกในร้านค้าทั่วไปในจังหวัดเมืองรอง. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2564, จาก https://www.dbd.go.th/index.php.
กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: สามลดา.
คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ดวงกมล ยางงาม และวดี วรรณา. (2563). การนำนโยบายการท่องเที่ยวเมืองรองไปปฏิบัติกรณีศึกษา: การท่องเที่ยวชมวิถีชีวิตบทบาทจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี, 1(1), 14-29.
ธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). อิทธิพลของปทัสถานทางจิตใจและอารมณ์ผู้ใช้งานมีผลต่อความตั้งใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 27(3), 16-28.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ Express ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 475-493.
ศิริขวัญ วิเชียรเพลิศ. (2564). ข้อเสนแนวทางการส่งเสริมท่องเที่ยวเมืองรองเพื่อกระจายรายได้จากการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). (2563). กรอบการทำงานปัญญาประดิษฐ์ภาครัฐ. กรุงเทพฯ: พีเอเอ็น (ไทยแลนด์).
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). Covid-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวไทย: สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศไทยไตรมาส 1/2563. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
Chao, C. M. (2019). Factors determining the behavioral intention to use mobile learning: An application and extension of the UTAUT Model. Psychology, 10(1652), 1-14.
Chiu, T. M., & Ku, B. P. (2015). Moderating effects of voluntariness on the actual use of electronic health recork for allied health professionals. JMIR Medical Informatics, 3(1), 1-10.
Giao, H. N., Vuong, B. N., Tung, D. D., & Quan, T. N. (2020). A model of factors influencing behavioral intention to use internet banking and the moderating role of anxiety: Evidence from Vietnam. WSEAS Transactions on Business and Economics, 17, 551-561.
Henseler, J., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2015). A new criterion for assessing discriminant validity in variance-based structural equation modeling. Journal of the Academy of Marketing Science, 43, 115-135.
Martins, M., Farias, J. S., Albuquerque, P. H. M., & Pereira, D. S. (2018). Adoption of technology reading purposes: A study of e-book acceptance. Brazilian Business Review, 15(6), 568-588.
Izkair, A. S., & Lakulu, M. M. (2021). Experience moderator effect on the variables that influence intention to use mobile learning. Bulletin of Electrical Engineering and informatics, 10(5), 2875-2883.
Khazae, H., & Khazaei, A. (2016). Electric vehicles and factors that influencing their adoption moderating effects of driving experience and voluntariness of us (Conceptual Framework). IOSR Journal of Business and Management, 18(12), 60-65.
Mushi, R. (2018). The moderating effect of mandatoriness on the acceptance of mobile phone technology: SMEs perspective. I.J. Wireless and Microwave Technologies, 5,46-59.
Ramayah, T. (2010). The role of voluntariness in distance ecucation students’ usage of course website. The Turkish Online Journal of Educational Technology, 9(3), 96-105.