ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ฉัตรธิดา หยูคง
ศักรินทร์ ชนประชา

บทคัดย่อ

บทความมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดการองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา และ2) เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้สมุนไพรวิสาหกิจชุมชนสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่น และขยายผลเป็นแหล่งเรียนรู้บนฐานภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิด ศูนย์เรียนรู้ชุมชน การจัดการความรู้ การจัดการทรัพยากรในชุมชน และการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา กลุ่มเป้าหมายคือ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า นักเรียน และนักศึกษา จำนวน 75 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสัมภาษณ์กลุ่ม 3) แบบสังเกตการมีส่วนร่วม 4) แผนจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการจัดการองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นในรูปแบบหนังสือคู่มือและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เนื้อหาประกอบด้วย 1) ข้อมูลชุมชนตำบลแม่ทอม 2) การรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรคุณธรรมวัดคูเต่า 3) สมุนไพรในชุมชน 4) องค์ความรู้และภูมิปัญญาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5) คุณค่าของสมุนไพรในชุมชน
2. ผลการพัฒนาศูนย์เรียนรู้สมุนไพรวิสาหกิจชุมชนสำหรับการถ่ายทอดองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่น และขยายผลเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งท่องเที่ยวบนฐานภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ โดยดำเนินการพัฒนา ประกอบด้วย 1) การพัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่ศูนย์เรียนรู้สมุนไพรวิสาหกิจชุมชนให้เหมาะแก่การเรียนรู้และเข้าสู่มาตรฐาน SHA และ 2) การขยายผลเป็น แหล่งเรียนรู้บนฐานภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน

Article Details

How to Cite
หยูคง ฉ., & ชนประชา ศ. . (2023). ศูนย์เรียนรู้วิสาหกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้บนฐานภูมิปัญญาสมุนไพรท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลแม่ทอม อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 940–954. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.63
บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.(2564).มาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety and Health Administration). สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก thailandsha.com/index

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์.(2547).พลวัตสุขภาพกับการพึ่งตนเอง: ภาคชนบท. นนทบุรี: สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ.

จงกลณี ภัทรกังวาน. (2561). การศึกษาพฤติกรรมการวางแผน เรื่อง การจัดการสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จักรพงษ์ นวลชื่น. (2560). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนให้ยั่งยืนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ศึกษากรณี วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดนครพนมและจังหวัดสกลนคร. สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.dsdw2016.dsdw.go.th

จักรพันธ์ โสมะเกษตริน. (2551). การจัดการภูมิปัญญาท้องถิ่นศรีสะเกษ เพื่อการแข่งขันอย่างยั่งยืน. (รายงานการวิจัย).สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ชนภัทธ์ อินทวารี. (2558). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น โดยใช้ชุุมชนเป็นฐานการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดโบสถ์ จังหวัดสิงห์บุรี(วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชยันต์ วรรธนะภูติ.(2537). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ:สายส่งศึกษิตเคล็ดไทย.

ธนัทณัฏฐ์ ฉัตรภัครัตน์ ชุติวัฒน์ สุวัตถิพงศ์ และวิทูรย์ วงษ์อามาตย์. (2561). การพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชนอัจฉริยะในศตวรรษที่ 21 เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานวัฒนธรรมไทลื้อ บ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สำนักงานข้อมูลและคลังความรู้ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2559). รายงานการสาธารณสุขไทย ด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก 2557–2559. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

สุภาภรณ์ ปิติพร. (2552). ตำรับยาอาหารเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. ปราจีนบุรี: ปรมัตถ์.

อัจฉรา สุมังเกษตร และชัยวัฒน์ นันทศรี. (2559). องค์ความรู้ภูมิปัญญาของหมอยาพื้นบ้าน กรณีศึกษา อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 9(2), 87-104.

อานนท์ พึ่งสาย และต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล. (2557). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 6(1), 233-245.

Davenport, Thomas H. and Lawrence Prusak. (1998). Working Knowledge: How Organization Manage What They Know. Cambridge, MA: Harvard Bussiness School Press.

World Health Organization. (‎2003)‎. The World health report : 2003 : shaping the future. World Health Organization. Retrieved November 19, 2021, from https://apps.who.int/iris/handle/ 10665/42789