การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ ร่วมกับวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ

Main Article Content

ณัฐชา ปั้นลายนาค

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียน
และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับวิธีคิดแบบโยนิโสกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ที่เรียนรายวิชา ส 23103 สังคมศึกษา 6 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ของหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาประเทศ และเรื่อง บทบาทของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ 2) แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( )
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สาระเศรษฐศาสตร์ โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ร่วมกับวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

Article Details

How to Cite
ปั้นลายนาค ณ. (2023). การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สาระเศรษฐศาสตร์ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ ร่วมกับวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(3), 794–808. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.53
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณมูรติ. (2556). การศึกษาและสาระสำคัญของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

นิ่มนวล ทศวัฒน์. (2542). หน่วยที่ 1-7 ครูสังคมศึกษาแนวใหม่. เอกสารประกอบการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ.(2551). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

โรงเรียนพระนารายณ์. (2561). รายงานประจำปี โรงเรียนพระนารายณ์ ปีการศึกษา 2561. (อัดสำเนา).

โรงเรียนพระนารายณ์. (2563). รายงานประจำปี โรงเรียนพระนารายณ์ ปีการศึกษา 2563. (อัดสำเนา).

วันเพ็ญ วรรณโกมล. (2542). การสอนสังคมศึกษาในระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏธนบุรี.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2541). การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ. กรุงเทพฯ: โอเดียร์สโตร์.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2542). การพัฒนาการเรียนรู้ตามแนวพุทธศาสตร์ ทักษะกระบวนการเผชิญสถานการณ์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2550). คิดตามนัยแห่งพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.