กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนไทยไปประเทศจีนเพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากโควิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่สร้างรายได้หลักให้ประเทศไทยโดยส่งไปประเทศจีนมากที่สุด การแพร่ระบาดของเชื้อโควิดส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนชาวไทยไปยังประเทศเป้าหมายหลัก เมื่อสภาวะการณ์เปลี่ยนไปธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัว บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจส่งออกทุเรียนเพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากภาวะโควิด 2) กระบวนการดำเนินธุรกิจทุเรียนเพื่อการส่งออก 3) การใช้กลยุทธ์ระดับองค์กรของธุรกิจ 4) การใช้กลยุทธ์ระดับการแข่งขันของธุรกิจ และ 5) การใช้กลยุทธ์ระดับหน้าที่ของธุรกิจ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคเดลฟายกับผู้เชี่ยวชาญการส่งออกทุเรียน 17 ท่าน เน้นผู้ส่งออกไปประเทศจีน สถิติที่ใช้คือ มัธยฐาน ฐานนิยม ร้อยละ ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิภาครัฐอีก 2 ท่านเพื่อยืนยันผลข้างต้น ผลการศึกษาพบดังนี้ 1)ผู้ประกอบการปรับคุณภาพทุเรียนตามที่ลูกค้าต้องการ ปรับการจัดการให้ได้ตามมาตรฐานในเวลาที่ต้องการ ปรับความสามารถในการจัดการกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงโควิด ปรับปรุงชื่อเสียงและเครดิต ปรับทรัพยากรบุคคลและเครือข่ายให้เข้มแข็ง ปรับการบริการและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับผู้นำเข้าต่างชาติ 2) กระบวนการดำเนินธุรกิจส่งออกทุเรียน คือ รับซื้อและคัดเลือกทุเรียน ควบคุมวิธีการใช้น้ำยา เวลาการตั้งโป่ง การแพ็คทุเรียนใส่กล่อง ขึ้นทุเรียนใส่ตู้Container แจ้งเจ้าหน้าที่ทางการเกษตรมาตรวจเช็ค ปรับอุณหภูมิตู้ ปล่อยตู้และขนส่ง ส่วนใหญ่ใช้วิธีการส่งออกทางอ้อม ผู้ส่งออกต้องมีเอกสารที่สอดคล้องกับมาตรการตรวจสอบสินค้าเกษตร 3) การใช้กลยุทธ์ระดับองค์กรของธุรกิจส่งออกทุเรียนเป็นแบบเติบโตทั้งแนวดิ่งและแนวนอน 4) การใช้กลยุทธ์ระดับการแข่งขันเป็นแบบมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่าง มีคู่แข่งสำคัญคือทุเรียนจากมาเลเซีย 5) การใช้กลยุทธ์ระดับหน้าที่มีการปรับหน้าที่ต่าง ๆ คือการผลิต การตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การเงินและโลจิสติกส์ เพื่อรองรับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจากโควิด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมศุลกากร. (2565). ปริมาณการส่งออกทุเรียนไปต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2565, จาก http://www.customs.go.th/statistic_report.php?show_search=1&s=oLuGdLhgyscAYMay
กฤษณะ สุกันตพงษ์. (2563). กระแสทุเรียนมาเลย์ในจีนกำลังปัง ทุเรียนไทยต้องระวังเสียแชมป์. ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง.
ชนิฎา ช่วยนะ, และอติ ไทยานันท์. (15 มีนาคม 2562). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกทุเรียนสดของไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 20, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ประเทศไทย. หน้า 1809-1813.
ณัฐชุดา เดชพ่วง, และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2561). ความสัมพันธ์ของปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกประเทศที่มีผลต่อการส่องออกทุเรียนไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(1), 333 – 340.
ธงชัย วัชนุชา และอดิลล่า พงศ์ยี่หล้า. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของห่วงโซ่อุปทานธุรกิจกิจการค้าผลไม้ไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 194–216.
นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2560). การนำเทคนิคเดลฟายไปใช้สำหรับการวิจัย. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 4(2), 47-64.
น้ำผึ้ง มีศิล. (2559). การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: การหลีกเลี่ยงมโนทัศน์ที่ไม่ถูกต้อง. Veridian E-Journal, Silpakorn University,9(1), 1256- 1267.
ประชาชาติธุรกิจ. (14 เมษายน 2565). จีนปิดนำเข้าทุเรียนไทย 3 วันหลังพบโควิด. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2565, จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-909930
ฝ่ายเกษตรประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว. (มิถุนายน 2564).สถานการณ์ผลไม้ไทยในตลาดจีน ปี 2563 และแนวโน้ม. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก https://www.moac.go.th/foreignagri- news-files-431391791323
ฝ่ายเกษตรประจำกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ 2563. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.opsmoac.go.th/shanghai-dwl-files-431291791909
พักตร์ผจง วัฒนสินธุ์, พสุ เดชะรินทร์.(2546). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์พัฒนาการค้าและธุรกิจไทย สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง.(เมษายน 2563). ราคาทุเรียนไทยในตลาดจีนมีแนวโน้มสูงขึ้นสวนกระแส Covid -19. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2564, จาก http://yn.yunnan.cn/system/2021/05/16/031451754.shtml
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (กรกฎาคม 2564). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการส่งออกทุเรียนสดของไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/ th/analysis/k-social-media/Pages/Durian-export.aspx
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (กรกฎาคม 2564). ส่งออกทุเรียนไทยพุ่งทุบสถิติ ตลาดจีนยังคงมาแรง. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/ Durian-export.aspx
เศรษฐกิจภูมิภาค. (2565). จีนปิดนำเข้าทุเรียนไทย 3 วันหลังพบโควิด. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2565,
จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-909930
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์รายสินค้า (ทุเรียน) ปี 2564. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 4-44. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.opsmoac.go.th/suratthani-dwl-preview-431691791003
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.(ธันวาคม 2563). สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2564.สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.opsmoac.go.th/nakhonphanom-dwl-files-431991791110
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.(2563). ปริมาณและมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร ปี 2563. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2564, จาก http://impexp.oae.go.th/service/report_product01.php?S_YEAR =2563&i_type=2&PRODUCT_ID=1273&wf_search=&WF_SEARCH=Y#export
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ตารางแสดงรายละเอียดทุเรียน ผลผลิตต่อไร่. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2564, จาก https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/durian63.pdf
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.(2564). สถิติการส่งออก. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก http://impexp.oae.go.th/service/export.php?S_YEAR=2554&E_YEAR=2562&PRODUCT_GROUP=5252&PRODUCT_ID=4977&wf_search=&WF_SEARCH=Y
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองชิงต่าว. (กุมภาพันธ์ 2565). ศุลกากรจีนเผยปี 2021 จีนนำเข้าทุเรียนสูงเป็นประวิติการณ์. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2565, จาก https://www.ditp.go.th /ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/761525/761525.pdf&title=761525&cate=413&d=0
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน. (พฤศจิกายน 2562). มณฑลไห่หนาน เริ่มปลูกทุเรียนไทยและทุเรียนมาเลเซีย เพื่อการค้า. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564, จาก https://www.ditp.go.th/contents_attach/577374/577374.pdf
สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (กันยายน 2563). การศึกษาบทบาทของผู้ประกอบการธุรกิจผลไม้ที่มีต่อทุเรียนไทย. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2564, จาก https://คิดค้า.com/wp-content/uploads/2021/08/1.-การศึกษาบทบาทของผู้ประกอบการธุรกิจผลไม้.pdf
สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.(ธันวาคม 2563).สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญและแนวโน้มปี 2564. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2564, จาก http://www.oae.go.th/ assets/portals/1/ebookcategory/57_trend-2564/#page=1
อดิลล่า พงศ์ยี่หล้า.(2563). กลยุทธ์การเข้าตลาดระหว่างประเทศ . เอกสารการสอนชุดวิชาการตลาดระหว่างประเทศและการตลาดโลก. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Macmillan,T.T. (1971). The delphi technique. Paper Presented at the annual meeting of the California Junior Colleges Associations Committee on Research and Development. Monterey: California.
Sukloet, S. (2021). Thai Durian Export Competitiveness to the People’s Republic of China Case Study: Strategic Partnership with Alibaba Group. Rajabhat Chiang Mai Research Journal, 22(1), 23–36.
Wheelen, T.L. and Hunger, J. D. (2012).Strategic management and business policy:toward global sustainability. (13th ed). Boston: Pearson.