แนวทางการจัดการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ชยพล ศิริธัญกร
เกียรติชัย วีระญาณนนท์
อนันต์ ธรรมชาลัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ความล้มเหลวและความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย 2) ศึกษาเปรียบเทียบความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย โดยจำแนกตามคุณลักษณะของธุรกิจ 3) ศึกษาความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย และ 4) วิเคราะห์หาแนวทางการจัดการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยนี้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นองค์กรธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 276 ราย โดยการสุ่มอย่างง่าย และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจก่อสร้างที่คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัจจุบันของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัยเป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล ด้านเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านกฎหมาย
และประสบการณ์ในธุรกิจ มีผลกระทบโดยรวมกับทุกส่วนงาน ควรดำเนินนโยบายธุรกิจที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในลักษณะที่ครบวงจร และสร้างเครือข่ายที่เชื่อมโยงสนับสนุนทางธุรกิจ (2) ความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย ทั้งด้านการเงินและด้านการเติบโตของธุรกิจ
มีความแตกต่างกันเมื่อจำแนกตามคุณลักษณะของธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
(3) ความสามารถด้านการให้บริการลูกค้า การจัดการความเสี่ยง การบริหารเงินทุน การตลาด เครือข่ายในธุรกิจ ส่งผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย (4) ผู้วิจัยนำเสนอแนวทางการจัดการเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย ได้แก่ (4.1) หาพันธมิตรธุรกิจในกลุ่มธุรกิจก่อสร้างที่อยู่อาศัย (4.2) ปรับปรุงกระบวนการการจัดการภายในองค์กร (4.3) ทบทวนและปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินธุรกิจก่อสร้างในปัจจุบันและอนาคต (4.4) จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อความต่อเนื่องของธุรกิจก่อสร้าง (4.5) ดำเนินธุรกิจก่อสร้างด้วยหลักจริยธรรมธุรกิจ (4.6) สรรหาเทคโนโลยีที่เพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง (4.7) หาแหล่งเงินทุนเพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน และ
(4.8) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในธุรกิจก่อสร้างให้กับพนักงานทุกระดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). สถิติการจดทะเบียนและทุนจดทะเบียน. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2563, จาก ttps://ereg.dbd.go.th/ERegistMemberWeb/nonmember-page/ home.xhtml

วัชรพงศ์ ดีวงษ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่รอดและความสามารถทางการแข่งขันของ ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างจัดตั้งใหม่ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง ในเขต เทศบาลนครอุดรธานี.วารสารสถาปัตยกรรมการออกแบบและการก่อสร้างคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 3(3), 71-82.

วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2564-2566: ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Construction-Construction-Materials/Construction-Contractors/IO/io-Construction-Contractors-21

วิจัยกรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทยปี 2565-2567. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2565,จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/summary-outlook/outlook-2022-2024

อัศวิทย์ อินทร์น้อย. (2561). งานวิจัย การพัฒนารูปแบบภาวะผู้ประกอบการธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ที่ผ่านพ้นวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุรินทร์, 1(2), 215-216.

Aguilar, F. J. (1967). Scanning The Business Environment. New York: Macmillan.

Henri, F. (1916). General and Industrial Management. London: Sir Isaac Pitman and Sons.

Krejcie, R.V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.

Porter, Michael E. (1980). Competitive Strategy: Technic for Analyzing Competition: With a New Instruction. New York: Free Press.

Humphrey, Albert S. (1960). SWOP Analysis. Research Work on Corporate Planning Conducted at Stanford Research Institute, United State.